วันเสาร์ที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2554

กกพ.พร้อมรับร้องเรียนค่าไฟแพงช่วงน้ำท่วม

 

กกพ.พร้อมรับร้องเรียนค่าไฟแพงช่วงน้ำท่วม

ประธานกรรมการกำกับกิจการพลังงาน แจงกรณีประชาชนในพื้นที่ประสบอุทกภัยไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการคิดค่าไฟ‏ สามารถร้องเรียนเพื่อดำเนินการตรวจสอบได้ ชี้เหตุไฟแพงอาจเกิดจากไฟรั่วได้...

นายดิเรก ลาวัณย์ศิริ ประธานกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ระบุว่า ได้ร่วมกับตัวแทนของการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ชี้แจงกรณีได้รับการร้องเรียนจากประชาชนเกี่ยวกับการเรียกเก็บค่าไฟฟ้าค่าบริการ และค่าธรรมเนียม ในช่วงเดือนที่ประสบอุทกภัย ทำให้ผู้ใช้ไฟฟ้าไม่ได้รับความเป็นธรรมเพราะเป็นเหตุสุดวิสัยอันเนื่องมาจากเหตุอุทกภัย โดย กกพ. กำหนดแนวทางปฏิบัติให้ กฟน. และกฟภ. พิจารณาตรวจสอบในกรณีพิเศษเพื่อให้ผู้ใช้ไฟฟ้าได้รับความเป็นธรรมโดยทั่วกัน โดยกรณีการคิดค่าไฟฟ้าแพงเกินจริงในเดือนที่อาจจะไม่ได้ใช้ไฟฟ้า เนื่องจากน้ำท่วมและการถูกเรียกเก็บที่เกิดจากการใช้ค่าเฉลี่ยของการใช้ไฟฟ้า โดยการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายได้จดหน่วยการใช้ไฟฟ้าตามตัวเลขที่ปรากฏจริงที่เครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าแล้วแบ่งหน่วยการใช้ไฟฟ้าที่จดได้ออกใบแจ้งค่าไฟฟ้า เป็น 2 ฉบับ ฉบับเดือนตุลาคม และเดือนพฤศจิกายน หรือนับจากวันที่จดหน่วยครั้งล่าสุดก่อนเกิดอุทกภัยถึงรอบวันที่จดหน่วยถึงปัจจุบันเดือนธันวาคม ตามสัดส่วนของจำนวนวันของแต่ละเดือนนั้น

ทั้งนี้  หากผู้ใช้ไฟเกิดข้อสงสัยเกี่ยวกับการเรียกเก็บบิลดังกล่าว สามารถยื่นคำร้องมาที่การไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายให้ตรวจสอบ และแยกการเรียกเก็บเป็นเดือนต่อเดือนได้ โดยหากไม่มีหน่วยการใช้ไฟฟ้าในรอบเดือนที่มีน้ำท่วมก็จะได้รับยกเว้นค่าบริการ หรือกรณีเสียค่าไฟฟ้าแพงกว่าปริมาณการใช้ไฟตามปกติ ซึ่งอาจมาจากไฟรั่วในพื้นที่น้ำท่วม สามารถขอให้การไฟฟ้าพิจารณาและตรวจสอบได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายหากพบว่ามีไฟรั่ว เนื่องจากน้ำท่วมก็ให้มีการพิจารณาดำเนินการคืนค่าไฟฟ้าส่วนเกินตามความเหมาะสม และกรณีที่มีการตัดไฟฟ้า และถูกเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการต่อกลับมิเตอร์ไฟฟ้าที่เกิดจากผู้ใช้ไฟฟ้า ไม่ได้รับใบแจ้งหนี้ หรือไม่สามารถไปชำระค่าไฟฟ้าได้นั้น ให้ผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถยื่นคำร้องเพื่อให้การไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายตรวจสอบ และคืนเงินค่าธรรมเนียมการต่อกลับมิเตอร์ไฟฟ้าได้

อย่างไรก็ตาม ขอยืนยันว่า วิธีการคิดค่าไฟเฉลี่ยต่อเดือนเป็นความเจตนาดีของการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่าย เพื่อช่วยลดภาระค่าไฟที่สะสมเนื่องจากหากนำค่าไฟฟ้าของทั้ง 2 เดือน ไปเรียกเก็บค่าบริการในเดือนเดียวจะทำให้ผู้ใช้ไฟฟ้าเสียค่าไฟฟ้าในช่วงอัตราก้าวหน้า ซึ่งจะทำให้เสียค่าไฟฟ้าสูงกว่าการเฉลี่ย 2 เดือน ซึ่งผู้ใช้ไฟฟ้า สามารถยื่นข้อร้องเรียนได้ที่การไฟฟ้านครหลวงเขต หรือ MEA Call Center โทร. 1130 ตลอด 24 ชั่วโมง และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค โทร. 1129 อย่างไรก็ตาม หากผู้ใช้ไฟที่ได้ร้องเรียนต่อการไฟฟ้าฯ แล้วยังไม่ได้รับความเป็นธรรมสามารถยื่นข้อร้องเรียนร้องเรียนได้ที่ สำนักงาน กกพ.



โดย: ทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์

31 ธันวาคม 2554, 21:45 น.

เตรียมพร้อมสู้ภัยพิบัติทางธรรมชาติคุกคามแบบ "ตื่นตัว" ไม่ "ตื่นตูม" รับมือปี "มังกรระเริงชล"

 

เตรียมพร้อมสู้ภัยพิบัติทางธรรมชาติคุกคามแบบ "ตื่นตัว" ไม่ "ตื่นตูม" 

รับมือปี "มังกรระเริงชล"

พ.ศ.2555......ปีมังกร

ปีที่คนส่วนใหญ่รอคอยด้วยความหวัง ว่า จะเป็นปีมงคล ปีแห่งความยิ่งใหญ่ ปีแห่ง ความเจริญรุ่งเรืองและปีที่จะมีแต่สิ่งดีๆ เกิดขึ้นในชีวิต

เนื่องจากตั้งแต่ครั้งบรรพบุรุษของชาวจีนผืนแผ่นดินใหญ่ สืบต่อมาจนถึงชาวไทยเชื้อสายจีนบนแผ่นดินสยามปัจจุบัน มีความเชื่อกันว่า มังกรเป็นสัตว์มงคล และเป็นเบอร์ 1 ใน 4 สัตว์มงคลของชาวจีน โดยเรียงลำดับ มังกร หงส์ กิเลน และเต่า ทั้งมังกรยังถือเป็นสัญลักษณ์ของฮ่องเต้ด้วย

แต่ในโลกปัจจุบันที่ธรรมชาติถูกจ้องทำลายด้วยน้ำมือมนุษย์ ความหวังของมนุษย์ที่อยากจะมีแต่ความสุข ความเจริญรุ่งเรือง จึงมีโอกาส "ไม่ได้ดั่งใจ" ที่ซ้ำร้ายกว่านั้นคือหากมนุษย์ยังไม่สำเหนียกถึงภัยพิบัติต่างๆ ที่จะเกิดจากสิ่งที่หลายคนพูดกันอยู่เสมอว่า "ธรรมชาติเอาคืน" และเร่งหาทางป้องกันให้ต้นเหตุแห่งภัยพิบัติอันเกิดจากมนุษย์บรรเทาเบาบางลงแล้ว

ปีมังกร 2555 อาจต้องกลายเป็นปีแห่งความทุกข์ยากแสนสาหัสขนาดที่นึกไม่ถึงกันเลยก็ได้


เพราะหากดูจากข้อมูลทางภูมิศาสตร์กายภาพแล้ว ปีมังกร 2555 น่าจะหนีไม่พ้น ปี "มังกรระเริงชล" ที่คนไทยต้องเผชิญกับภัยพิบัติชนิดอกสั่นขวัญกระเจิงกันอีกครั้ง เนื่องจากน่าจะเป็นอีกปีหนึ่งที่ธรรมชาติจะยังคงวิปริตผิดเพี้ยน เหมือนที่เคยเกิดขึ้นในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นอากาศร้อนในหน้าหนาว อากาศหนาวในหน้าร้อน น้ำท่วมหนักสุดในรอบร้อยปี การเกิดสึนามิครั้งใหญ่ แผ่นดินไหวจนจุดศูนย์กลางของกรุงเทพมหานครรับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือน รวมทั้งรอยแยกที่มีพลังตามจุดต่างๆทั่วประเทศ ฯลฯ

ที่สำคัญเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่เมื่อปลายปี 2554 ซึ่งยังคงตามหลอกหลอนคนไทยทั้งประเทศ ก็เป็นเรื่องที่สุดจะคาดเดาได้ว่าจะเกิดซ้ำขึ้นอีกหรือไม่ และอีกเพียงไม่กี่เดือนข้างหน้าก็จะก้าวเข้าสู่ช่วงฤดูฝนที่เริ่มตั้งแต่เดือน มิ.ย.หรือเดือน 6 ของทุกปีอีกแล้ว

นั่นก็หมายความว่า นับจากวันปีใหม่นี้ วันที่ 1 มกราคม 2555 เราจะมีเวลาอีกเพียง 6 เดือนเท่านั้นฤดูฝนก็จะมาถึงแล้ว ทั้งนักวิชาการด้านน้ำต่างระบุตรงกันว่า ปี 2555 น้ำจะมากกว่าปี 2554

ดร.สมิทธ ธรรมสโรช

ดร.สมิทธ ธรรมสโรช


นายสมิทธ ธรรมสโรช ประธานกรรมการมูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ในฐานะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบบริหารทรัพยากรน้ำ (กยน.) ระบุว่า ปี 2555 ปริมาณน้ำจะมีมากขึ้น เพราะอิทธิพลต่อเนื่องจากลานินญา คือ ปรากฏการณ์ที่ น้ำฝนมากผิดปกติ เพราะความแปรปรวนของอุณหภูมิของอากาศและน้ำในมหาสมุทรต่างๆ  และมักจะเกิดในทิศทางที่ตรงข้ามกันด้วย ระบบภูมิอากาศโลกจึงมีการสลับไปมาทุกๆ 3-5 ปีโดยเฉลี่ย

"ปี 2555 ภัยธรรมชาติ โดยเฉพาะน้ำท่วมจะรุนแรง และคาดว่ากรุงเทพมหานครจะเป็นหนึ่งในเมืองหลวงหลายแห่งในทวีปเอเชีย ที่จะได้รับผลกระทบจากการละลายของ ภูเขาน้ำแข็งมากที่สุด โดยภายใน 2-9 ปี น้ำจะท่วมกรุงเทพฯและหลายจังหวัดในภาคกลางอย่างถาวร ระดับน้ำสูง 1-1.5 เมตร เนื่อง จากกรุงเทพฯตั้งอยู่บนดินเหลว และมีการทรุดตัวของแผ่นดินอย่างต่อเนื่อง  นอกจากนี้กรุงเทพฯ ยังอาจเกิดแผ่น-ดินไหว เพราะมีรอยเลื่อนถึง 13 รอย ในภาคเหนือ ภาคตะวันตก และภาคใต้ โดย เฉพาะรอยเลื่อน จ.กาญจนบุรี หากมีแผ่นดินไหวมากกว่า 7 ริก-เตอร์ เขื่อนศรีนครินทร์ และเขื่อนวชิราลงกรณ์ ซึ่งตั้งทับรอยเลื่อนเหล่านี้จะแตก จนทำให้น้ำท่วมบริเวณใกล้เคียงสูงถึง 25 เมตร ภายในเวลา 5 ชั่วโมง" นายสมิทธ ฉายภาพภัยพิบัติที่กำลังจ่อคิวเข้าคุกคามประเทศไทย พร้อมระบุด้วยว่า พื้นที่ภาคใต้ของไทย อาจเจอคลื่นสึนามิอีกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นทางฝั่งอันดามัน  และฝั่งอ่าวไทย และจะรุนแรงยิ่งกว่าสึนามิเมื่อ 7  ปีที่แล้ว  เนื่องจากศูนย์กลางแผ่นดินไหวมาจากอินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ มีระยะเคลื่อนที่ของคลื่นไม่ถึง 40 นาทีก็จะถึงชายฝั่งของไทย ทั้งนี้ การเกิดแผ่นดิน ไหวและสึนามิ ก็มีสาเหตุมาจากลมสุริยะ

ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา

ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา


ขณะที่ นายอานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผอ.สำนักพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คาดการณ์ถึงสภาพอากาศในปี 2555 ว่า "จะมีปริมาณน้ำมาก คือฝนจะมากกว่าค่าเฉลี่ย นอกจากนี้ ยังไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่า จะมีพายุหรือร่องความกดอากาศต่ำที่เข้ามาอย่างไม่ทราบสาเหตุ จนทำให้เกิดฝนตกหนักอย่างในปีนี้หรือไม่ เนื่องจากไม่มีปัจจัยใดนำมาคาดการณ์ได้ และประเทศไทยจะต้องอยู่ในภาวะน้ำมากแบบนี้อีกราว 5-10 ปี"

ผอ.สำนักพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ให้ความเห็นด้วยว่า คงปฏิเสธไม่ได้ ว่าในอนาคตโลกนี้จะเต็มไปด้วยน้ำ เนื่องจากปริมาณน้ำแข็งซึ่งครอบคลุมไปทั่วทั้งมหาสมุทร อาร์กติกนั้น ได้เบาบางลงไปแล้วถึง 40 เปอร์เซ็นต์ ส่งผลให้พื้นที่ที่เคยปกคลุมไปด้วยน้ำแข็งหดตัวลงไปแล้วไม่น้อยกว่า 25 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งจะส่งผลกับระดับน้ำทะเล และหากประกอบกับความร้อนที่เกิดจากมนุษย์โดยการขุดเอาน้ำมัน ถ่านหินที่มีในโลกมาเผาให้หมดเกลี้ยง เพิ่มระดับคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ น้ำแข็งในขั้วโลกใต้ก็ละลาย แม้เพียงบางส่วน แต่เชื่อว่าจะทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นประมาณ 1-3 เมตร เพราะ ฉะนั้นพื้นที่กรุงเทพฯ จะถูกน้ำท่วมจึงไม่แปลก เพราะกรุงเทพฯ อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลเมตรเศษๆมันเป็นแค่น้ำท่วมชายฝั่งไม่ใช่น้ำท่วมโลก อย่างพื้นที่ จ.เชียงใหม่ ไม่ท่วมแน่นอน ยกเว้นพื้นที่ต่ำชายฝั่งทะเล มีความเสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วมจริง


"อย่างไรก็ตาม ไม่ต้องตื่นตระหนกกับเรื่องไกลตัว แต่ควรหันกลับมาสนใจภัยใกล้ตัวอันเกิดจากน้ำมือมนุษย์ เช่น มลพิษ ดินถล่ม ฝนตก  น้ำท่วม  จากการพัฒนาพื้นที่โดยไม่ได้คำนึงลักษณะภูมิประเทศ ธรณีสัณฐาน ภูมิอากาศ มัวแต่ไปโทษปัจจัยภายนอก เรื่องโลกร้อน แกนโลกเอียง แต่ไม่เคยดูปัจจัยภายในตัวเอง" นายอานนท์กล่าวพร้อมคาดการณ์ถึงสถานการณ์น้ำท่วมในอีก 6 เดือนข้างหน้าด้วยว่า มีการเก็บข้อมูลย้อนหลังเกี่ยวกับลมมรสุมพบว่าประเทศไทยมีมรสุมเข้ามาปีละ 3 ลูกโดยเฉลี่ย ไม่ถือว่าหนัก แต่ปีหน้าประเทศไทยยังมีโอกาสเจอน้ำมากจากความแปรปรวนของสภาพอากาศ พบว่าเป็นผลมาจากภาวะโลกร้อนทำให้ใน 5-6 ปี เราต้องเจอสถานการณ์แบบปี 2554 แต่ก็คิดว่าเราจะมีความพร้อมมากขึ้นในการรับมือ โดยสิ่งที่ต้องรับมือมี 5 อย่างขณะนี้ คือ 1.ประตูระบายน้ำ 2.คันกั้นน้ำ 3.สถานีระบายน้ำ 4.แก้มลิง และ 5.คูคลอง ถ้าไม่ทำหนักแน่

แม้แต่กรมชลประทาน โดย นายสุเทพ น้อยไพโรจน์ รองอธิบดีกรมชลประทาน ยังระบุว่า "อิทธิพลของลานินญาจะทำให้เกิดสภาวะมีฝนมาก ทำให้ปี 2555 ประเทศไทยอาจต้องประสบภาวะฝนฤดูร้อนหรือฝนมาเร็วกว่าฤดูกาล"

แน่นอน การคาดการณ์ทั้งหลายแหล่เหมือนจะส่งสัญญาณที่แน่ชัดไปในทางเดียว กันแล้วว่า ปีหน้ามีแนวโน้มฉายแววชัดเจน พื้นที่ของประเทศไทยจะยังคงเต็มไปด้วยน้ำ อันเนื่องมาจากภาวะลานินญารวมทั้งอุณหภูมิความร้อนของโลกที่สูงขึ้นและข้อมูลที่ประมวลจากผู้รู้เรื่องน้ำระดับ "กูรูน้ำ" เหล่านี้ คือสิ่งที่ต้องไม่มองข้าม

ประกอบกับธรรมชาติ โดยเฉพาะป่า แม่น้ำ ภูเขา ที่ถูกทำลายจนทำให้ภัยธรรมชาติประเภทแผ่นดินไหว ภูเขาถล่ม ดินทลาย กลายเป็นเรื่องที่น่าวิตกกังวลถึงขนาดที่มีคนเสียชีวิตไปแล้วนั้น ยิ่งเหมือนเชื้อปะทุที่ช่วยเสริมให้ภัยธรรมชาติกลายเป็นอันตรายต่อประเทศไทยอย่างยิ่งในห้วงเวลานี้


ยิ่งหากหันกลับไปมองช่วงเวลาที่ผ่านมา ยิ่งเหมือนการยืนยันชัดเจนว่าธรรมชาติได้ดลบันดาลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาวะลม-ฟ้า-อากาศ หนักหน่วงเพิ่มขึ้นทุกที ไม่ว่าจะเป็นน้ำท่วม จ.นครราชสีมาครั้งแรกในรอบ 50 ปี เมื่อเดือน ต.ค.ปี 2553 ต่อเนื่องด้วยน้ำท่วมหนักที่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลาในเดือน พ.ย.ปีเดียวกัน ก่อนจะเกิดน้ำท่วมภาคใต้เกือบ 14 จังหวัดครั้งใหญ่ที่สุดในเดือน มี.ค.-เม.ย.2554 พร้อมๆกับการเกิดคลื่นยักษ์สึนามิที่ประเทศญี่ปุ่น ตามมาด้วยการเกิดแผ่นดินไหวที่ประเทศพม่า แต่ส่งผลให้เกิดแรงสั่นสะเทือนในหลายจังหวัดทางภาคเหนือ ขณะที่ในพื้นที่กรุงเทพฯ ก็รับรู้ได้ถึงแรงสั่นสะเทือนจากอาคารสูง บริเวณอโศก พระราม 9 สีลม รัชดาฯ บางอาคารเกิดการสั่นโยกราว 3 นาที

ตอกย้ำถึงแนวโน้มการเกิดภัยพิบัติต่างๆ ที่จะมีเพิ่มขึ้นด้วยข้อมูลจาก ดร.ก้องภพ อยู่เย็น นักวิทยาศาสตร์องค์การนาซ่า ระบุว่า ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในโลก ส่วนหนึ่งเกิดจากการกระทำของมนุษย์ แต่สาเหตุสำคัญที่ยังไม่ค่อยมีใครพูดถึง คือการเปลี่ยนแปลงของดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นจุด ศูนย์กลางของระบบสุริยจักรวาล โดยทุกครั้งที่มีการระเบิดบนพื้นผิวดวงอาทิตย์ จะทำให้เกิดลมสุริยะพัดออกมาโดยรอบดวงอาทิตย์และเคลื่อนที่มาถึงโลก มีผลทำให้สนามแม่เหล็กของโลกถูกรบกวนจนแปรปรวน จนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ทั้งกระแสน้ำในมหาสมุทร และการก่อตัวของพายุอย่างฉับพลัน

ทั้งนี้ โดยปกติแล้ว ลมสุริยะจะใช้เวลาเดินทางมาถึงโลกภายใน 3-5 วัน ดังนั้น นักวิทยาศาสตร์จึงสามารถคาดการณ์ได้ว่า หากเกิดลมสุริยะ ในโลกจะเกิดการเปลี่ยน-แปลงภายใน 1 วัน จากนั้นอีก 3 วันจะเกิดภัยพิบัติที่รุนแรงมากขึ้น เช่น กรณีน้ำท่วมประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 26 ก.ย.ที่ผ่านมา เกิดขึ้นหลังจากที่ดวงอาทิตย์ระเบิดเพียง 4 วัน หลังจากนั้น ฝนตกอย่างหนัก


ถึงวันนี้ ป่าไม้ ที่ถือเป็นต้นน้ำสำคัญและเป็นแหล่งเก็บกักน้ำ ถูกกลุ่มนายทุนกว้านซื้อที่ดินเพื่อสร้างรีสอร์ตและปลูกพืชเศรษฐกิจ เช่น ยางพาราและปาล์มน้ำมัน โดยเฉพาะภาคอีสานเป็นพื้นที่ที่มีการบุกรุกมากที่สุด คือตั้งแต่เดือน ม.ค. 2554 พบว่ามีการกระทำความผิดมากถึง 1,500 คดี ปัจจุบันเหลือพื้นที่ป่าไม้ประมาณ 104 ล้านไร่เศษ หรือคิดเป็นร้อยละ 32 ของพื้นที่ทั้งประเทศ จากเดิมที่เคยมีในปี พ.ศ.2504 ราว 171 ล้านไร่ ลดลงเกือบ 70 ล้านไร่ จากการลดลงของพื้นที่ป่าไม้ และความเสื่อมโทรมของทรัพยากรป่าไม้ ก่อให้เกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำในภาคเกษตรและอุตสาหกรรม เกิดภาวะน้ำท่วม ขาดแหล่งไม้ใช้สอย อาหาร ยา รายได้ รวมถึงภาวะโลกร้อน และภัยธรรมชาติที่รุนแรงมากยิ่งขึ้น

การรุกป่าเพื่อปลูกพืชเศรษฐกิจ โดย เฉพาะยางพารา ยังส่งผลถึงการเกิดดินถล่มและรอยแยกจำนวนมหาศาลโดยเฉพาะในภาคเหนือ และภาคใต้ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตแทบทุกครั้ง เมื่อเกิดฝนตกหนัก โรงงานอุตสาหกรรมจำนวนมากในนิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ได้ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งอากาศ ดิน น้ำ เป็นต้น

"ทีมข่าวสิ่งแวดล้อม" ขอฝากแง่คิดส่งท้ายปี 2554 และ ต้อนรับปี "มังกรระเริงชล 2555" ด้วยการนึกย้อนกลับไปถึงความเชื่อของคนไทยรุ่นปู่ย่า ตายาย ที่มีคำเปรียบเปรยถึงการเตือนภัยให้ระวังตัวว่า "จิ้งจกทัก" ยังทำให้เราต้องหยุดคิด และตั้งสติ พร้อมคิดทบทวนอย่างรอบคอบก่อนจะลงมือทำอะไร


ถึงวันนี้มีเสียงส่งสัญญาณเตือนภัยจากมนุษย์ ด้วยกันเอง ที่ศึกษาข้อมูล และมีการวิเคราะห์ วิจัยอย่างรอบคอบชนิดถี่ยิบ จนนำมาซึ่งข้อสรุป คือ การเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติที่จ่อคิวคุกคามโลกจะมีอัตราการเกิดที่ถี่ขึ้น ที่ซ้ำร้ายไปกว่านั้นคือภัยพิบัติที่เกิดจะทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ

ถึงเวลาหรือยังที่มนุษย์จะสำเหนียกถึงอันตรายใกล้ตัวที่มีแต่จะทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นทุกนาที

ฤา ต้องรอจนเห็นโลงศพจึงหลั่งน้ำตา!!!

 

ทีมข่าวสิ่งแวดล้อม

 

โดย: ทีมข่าวสิ่งแวดล้อม

1 มกราคม 2555, 05:30 น.


รู้จักต้อกระจกตา..ภัยร้ายที่มองไม่เห็น

รู้จักต้อกระจกตา..ภัยร้ายที่มองไม่เห็น

ต้อกระจก (Cataract) เป็นโรคที่มีความขุ่นลงของเลนส์ตา ส่วนใหญ่มักเกิดในผู้สูงอายุ  โดยเฉพาะเมื่อมีอายุมากกว่า 65 ปี เนื่องจากเป็นความเสื่อมไปตามวัยของเลนส์ตาเมื่อมีอายุมากขึ้น แต่อาจเกิดจากสาเหตุอื่น เช่น อุบัติเหตุ หรือเป็นมาแต่กำเนิดก็ได้

อาการเริ่มแรกคือจะมองเห็นค่อยๆ มัวลงช้าๆ คล้ายมีหมอกมาบัง โดยไม่มีความเจ็บปวด อาจเริ่มมีการรบกวนต่อชีวิตประจำวัน เช่น ต้องอาศัยแสงสว่างมากในการจะมองให้ชัด หรืออาจมีการเปลี่ยนแปลงของสายตาโดยมีสายตาสั้นมากขึ้น การขับรถในตอนกลางคืนจะลำบากมากขึ้น ถ้าทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการผ่าตัดรักษาอย่างเหมาะสม อาจทำให้เกิดข้อแทรกซ้อนได้ เช่น ต้อหิน หรือม่านตาอักเสบ ทำให้มีอาการปวดตาและตาอักเสบ การมองเห็นปกติการมองเห็นเมื่อมีต้อกระจก

การรักษาต้อกระจกนั้นทำได้โดยวิธีผ่าตัดโดยเอาเลนส์ที่ขุ่นออก และใส่เลนส์เทียมเข้าไปทดแทน วิธีการผ่าตัดมีหลายแบบขึ้นกับความรุนแรงของโรค ปัจจุบันวิธีการผ่าตัดพัฒนาก้าวหน้ามาก ใช้เวลาไม่นานราว 30 นาที โดยฉีดยาชาเฉพาะที่หรือใช้เพียงยาชาชนิดหยอด ทำเสร็จกลับบ้านได้ในวันเดียวกัน วิธีที่นิยมใช้ในปัจจุบันคือ การผ่าตัดสลายต้อกระจกด้วยคลื่น ultrasound และดูดเอาเลนส์ออกผ่านแผลขนาดเล็กเพียง 3 มม.และใส่เลนส์เทียมชนิดพับได้เข้าไปแทนเลนส์เดิม แผลมีขนาดเล็ก มักไม่จำเป็นต้องเย็บแผล และอาการเคืองตามีเพียงเล็กน้อย

การสลายต้อกระจกด้วยคลื่น ultrasound ผ่านแผลขนาดเล็ก

เมื่อสลายต้อกระจกแล้วจึงใส่เลนส์เทียมเข้าแทนที่

เลนส์เทียมที่ใช้ในการผ่าตัดมีหลายชนิด ทั้งชนิดมาตรฐานซึ่งเป็นเลนส์พับอย่างดี  (Monofocal) ให้การมองไกลได้ชัดเจนแต่มักต้องใส่แว่นเพื่อมองใกล้ชัด หรือเลนส์ชนิดชัดหลายระยะ (Multifocal) ซึ่งมองเห็นได้ทั้งไกลและใกล้ได้ โดยลดการพึ่งพาแว่นสายตายาวได้มากกว่า การดูแลหลังผ่าตัดคือ รับประทานยาและหยอดยาตาแพทย์สั่ง ห้ามตาโดนน้ำหลังผ่าประมาณ 2 สัปดาห์ หลีกเลี่ยงการยกของหนัก ไอ เบ่ง และมาตรวจตาตามที่แพทย์นัด

สอบถามเพิ่มเติม: Laser Vision International LASIK Center 
www.laservisionthai.com

 

โดย: ทีมข่าวไลฟ์สไตล์

29 ธันวาคม 2554, 14:00 น.

 

2012

░▓▓▓▓░░░░░▓▓▓▓░░░░░▓▓░░░░▓▓▓▓░▓▓░░▓▓░░░▓▓░░▓▓░░░▓▓▓░░░▓▓░░▓▓▓▓░░▓▓░░░▓▓░▓▓▓░▓▓▓▓▓░░░▓▓░░▓▓░░░░▓▓░░░▓▓░▓▓▓░░░░▓▓░░░░░░░▓▓░░░▓▓░░░░▓▓░░▓▓░░░░▓▓░░░░░░▓▓░░░▓▓░░░░░▓▓▓░▓▓░░░░▓▓░░░░░▓▓░░░▓▓░░░░░░▓▓▓░▓▓░░░░▓▓░░░░▓▓░░░▓▓░░░░░░░▓▓░░▓▓░░░░▓▓░░░▓▓░░░░▓▓▓▓▓▓░░░░▓▓▓▓░░░░░▓▓░░░▓▓▓▓▓▓

°¨▀█▇▆▄☯ ✫✰★✰✫☯▄▅▇█▀¨°
╔╦═╦╦╗──╔╗╔╗─────╔═╦╗────╔══╦╗╔╗
║║║║╠╣╔═╣╚╬╬═╦╦═╗╚╗║╠═╦╦╗║╔╗║║║║
║║║║║╠╣╠╣║║║║║║╬║╔╩╗║╬║║║║╠╣║╚╣╚╗
╚═╩═╩╩═╝╚╩╩╩╩═╬╗║╚══╩═╩═╝╚╝╚╩═╩═╝
──────────────╚═╝
╔╗╔╗─────────╔═╦╗─────╔═╦╗˛.o•°★°•o.˛
║╚╝╠═╗╔═╦═╦╦╗║║║╠═╦╦╦╗╚╗║╠═╦═╗╔╦╗
║╔╗║╬╚╣╬║╬║║║║║║║╩╣║║║╔╩╗║╩╣╬╚╣╔╝
╚╝╚╩══╣╔╣╔╬╗║╚╩═╩═╩══╝╚══╩═╩══╩╝
──────╚╝╚╝╚═╝☯✫✰★✰✫☯
•(¯`•★•´¯)•╔═══╦═══╗╔╗╔═══╗╔╦╦╗•(¯`•★•´¯)•
•(¯`•★•´¯)•║╔═╗║╔═╗╠╝║║╔═╗║║║║║•(¯`•★•´¯)•
•(¯`•★•´¯)•╚╝╔╝║║║║╠╗║╚╝╔╝║║║║║•(¯`•★•´¯)•
•(¯`•★•´¯)•╔═╝╔╣║║║║║║╔═╝╔╝╚╩╩╝•(¯`•★•´¯)•
•(¯`•★•´¯)•║║║╚╣╚═╝╠╝╚╣║║╚╗╔╦╦╗•(¯`•★•´¯)•
•(¯`•★•´¯)•╚═══╩═══╩══╩═══╝╚╩╩╝•(¯`•★•´¯)•
░˛¸.o•°`~☻~`°•o.˛¸˛.o•°★°•o.˛¸˛.o•°`~☻~`°•o.˛¸░
╔══╗─────,(¯`:´¯),────,(¯`:´¯),─────,(¯`:´¯),
║║║║╔╦╗─(¯ `•.\|/.•´¯)──(¯ `•.\|/.•´¯)─(¯ `•.\|/.•´¯)
║║║║║║║(¯ •.⋐(█)⋑.•¯)─ (¯ •.⋐(█)⋑.•¯) (¯ •.⋐(█)⋑.•¯)
╚╩╩╝╠╗║─ (_.•´/|\`•._)──(_.•´/|\`•._)──(_.•´/|\`•._)
────╚═╝─╔═╗─╔╗────╔╗───╔═╗─╔╗
────────║═╬╦╬╬═╦═╦╝║╔═╗║═╬═╬╬═╦╦╗
────────║╔╣╔╣║╩╣║║╬╠╣╠╝║═╣║║║╬║║║
────────╚╝╚╝╚╩═╩╩╩═╩═╝─╚═╩╬╣╠═╠╗║
──────────────────────────╚═╝─╚═╝
 

ไปเยือน "เวทีวิชาการชาวบ้าน" ที่ "นาบัว"... ชุมชนแห่งนี้เข้มแข็งไม่ใช่น้อย

 

ไปเยือน "เวทีวิชาการชาวบ้าน" ที่ "นาบัว"... 

ชุมชนแห่งนี้เข้มแข็งไม่ใช่น้อย

วันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2554 เวลา 09:00:27 น.

Share




เรื่อง/ภาพ : ทิพาภรณ์ สุคติพันธ์

 


คริสต์มาสที่ผ่านมา คุณผู้อ่านไปทำอะไรมาบ้าง?
ไปถ่ายรูปกับต้นคริสต์มาส หรือว่าไปปาร์ตี้กับเพื่อนๆ?


แต่สำหรับชาวตำบลนาบัว จังหวัดพิษณุโลกนั้น พวกเขามีงาน "เวทีวิชาการชาวบ้าน" กันละ


อยากรู้ใช่ไหมว่า "เวทีวิชาการชาวบ้าน" เป็นอย่างไร
วันนี้ มติชนออนไลน์จะพาไปรู้จักกัน


แต่ก่อนอื่นๆเรามารู้จักกับ "ตำบลนาบัว" อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก กันก่อนดีกว่า


ตำบลนาบัวมีหมู่บ้านทั้งหมด 15 หมู่บ้าน โดยหมู่ที่ 15 บ้านน้ำแจ้งพัฒนา หรือ "บ้านภูขัด" นั้นมีชาวม้งอาศัยอยู่ "ภูขัด" ยังเป็นชุมชนชาวม้งที่ใหญ่โตใช่เล่น เพราะมีประชากรอาศัยอยู่ถึงพันกว่าคน


ชุมชนเขาใหญ่ไหมล่ะ ?


คุณผู้อ่านอาจจะสงสัยว่าทำไม ตำบลนี้ถึงต้องชื่อ "นาบัว"


ที่มาก็คือ นาข้าวของตำบลนี้ เวลาปลูกข้าวจะมีดอกบัวดอกเล็กๆผุดขึ้นมาเต็มท้องนา แทรกไปกับต้นข้าวมากมาย


ทำให้ใครต่อใครพากันเรียกที่แห่งนี้ว่า "นาบัว"


แต่พอไปถามชาวบ้านว่า "นาบัว" ที่ว่านี้ อยู่ที่ไหน อยากจะเห็นสักครั้ง


ก็ได้รับคำตอบว่า ตอนนี้นาที่มีบัวผุดแทบจะไม่มีเหลือแล้ว เพราะชาวนาใช้รถไถทำนา"ไถที่นาแต่ละทีก็ไปทำลายรากบัวในดินตายหมด"


นอกจากที่มาของชื่อซึ่งน่าสนใจแล้ว ตำบลนี้ยังมีเรื่องน่าสนใจอีกเรื่องหนึ่ง นั่นก็คือ


พื้นที่บางส่วนของตำบลนี้ เคยเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่สู้รบกับ พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) เนื่องจากแถบนี้เป็นภูเขาสลับซับซ้อน แถมยังอยู่ติดกับภูหินร่องกล้าอีกด้วย


เห็นไหมว่า ตำบลนี้มีแต่เรื่องน่าสนใจ


---


เมื่อวันที่ 25 - 26 ธันวาคมที่ผ่านมา มติชนออนไลน์ได้มีโอกาสติดตามคณะสสส.ที่มีนายสมพร ใช้บางยาง ประธานกรรมการบริหารแผนคณะที่ 3 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และนางสาวดวงพร เฮงบุณยพันธ์  ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน (สำนัก 3) เป็นผู้นำคณะเพื่อไปร่วมงาน "เวทีวิชาการชาวบ้าน"

 

 

ชาวนาบัว


เวทีวิชาการชาวบ้าน คืออะไร?


เรามาทำความรู้จักกับ "เวที" ที่ว่ากันดีกว่า


เวทีวิชาการชาวบ้าน ณ ตำบลนาบัว เป็นการเปิดพื้นที่ให้ประชาชนในตำบลได้มาแสดงความคิดเห็น นำเสนอปัญหา และนำเสนอผลงานของแต่ละหมู่บ้าน


ให้คนในหมู่บ้านอื่นได้รับรู้ และยังได้เสนอปัญหาไปยังเจ้าหน้าที่ปกครองในตำบล อำเภอ จังหวัด ให้รับรู้ปัญหาและเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาต่อไปให้อีกด้วย


เวทีวิชาการชาวบ้านจะจัดขึ้นในวันที่ 8 มกราคมของทุกปี ซึ่งปีนี้ก็เป็นปีที่ 15 แล้ว


โดยเจ้าภาพที่จัดจะเวียนกันไป ปีละ 1 หมู่บ้าน


หมู่บ้านที่เป็นเจ้าภาพจะต้องรับหน้าที่จัดการงานทุกอย่างให้เรียบร้อย


มีเวลาเตรียมตัว-เตรียมความพร้อม 1 ปี


ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องใหญ่ เป็นหน้าเป็นตาของหมู่บ้านเจ้าภาพเป็นอย่างมาก

 

---


ในปีนี้หมู่บ้านที่ได้รับเป็นเจ้าภาพจัดงานคือ หมู่ที่ 15 บ้านน้ำแจ้งพัฒนา หรือบ้านภูขัดนั่นเอง


แต่ปีนี้มีความพิเศษกว่าปีก่อนๆก็คือ ชาวภูขัดได้ขอจัดงานในวันที่ 26 ธันวาคม


เนื่องจากในวันที่ 25 ธันวาคมเป็นวันปีใหม่ม้ง ซึ่งต้องมีการจัดงานเลี้ยงฉลองกัน

หากจะจัดงานวันเวทีวิชาการชาวบ้าน ในวันที่ 8 มกราคม เหมือนเช่นทุกปีนั้น
ทางผู้ใหญ่บ้านภูขัด บอกว่า ทางชาวภูขัดไม่สะดวก


เพราะการเดินทาง จัดหาของจำเป็นขึ้นไปจัดงานที่ภูขัดนั้น ทำได้ลำบาก เนื่องจากทางขึ้นไปยังยอดภูยังเป็นทางดิน ที่ไม่ง่ายต่อการเดินทาง


หากจะจัดนั้น ก็ขอจัดให้ติดกับวันปีใหม่ม้งเลย
จะได้จัดให้เสร็จเรียบร้อยไปภายในระยะเวลาใกล้ๆ กัน


ซึ่งชาวนาบัว ก็ไม่ขัดข้อง


---


ก่อนที่เราจะไปพบกับบรรยากาศของงานเวทีวิชาการชาวบ้านในวันที่ 26 ธันวาคม 

ทางชาวนาบัวได้พา มติชนออนไลน์และคณะไปพบกับศูนย์การเรียนรู้ของชาวนาบัว ซึ่งมีอยู่ 3 ศูนย์ด้วยกัน


ศูนย์การเรียนรู้แรกที่เราได้ไปคือ "ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมชุมชน"


ศูนย์นี้จะมีการสาธิตและแสดงผลงานอยู่หลายอย่าง ได้แก่


การแทงหยวก
การแทงหยวกมีวิทยากรคือลุงมงคล สีดารักษ์ คุณลุงได้สาธิตการแทงหยวกประดับบน "แลแห่นาค" ที่มีไว้ให้นาคได้ขึ้นไปนั่งแห่ไปที่วัด


หยวกที่ใช้สำหรับแลแห่นาคนั้น จะต้องแทงเป็นรูปพญานาค (แต่หากประกอบงานอื่นๆก็เป็นรูปอื่นๆแล้วแต่กันไป)

 

 

ลุงมงคล


แล 1 แล ใช้ได้แค่ครั้งเดียว เพราะระหว่างที่แห่แลไป คนแบกแลก็จะเขย่าแลไปตลอดทาง 
นาคก็ต้องระวังไม่ให้ตัวเองตกแล และพอใช้เสร็จส่วนมากแลก็จะพัง เพราะโดนเขย่านี่แหละ


แต่ลุงบอกว่า ตอนนี้ไม่ค่อยมีใครทำแลกันแล้ว
เพราะการจะแห่ด้วยแลนั้น ต้องมีการจัดงานฉลอง 3 วัน 3 คืนคู่กันไป
ทำให้สิ้นเปลืองมาก คนจึงไม่นิยมแห่ด้วยแล


แต่ถ้าจะให้ลุงทำ ลุงก็คิดค่าทำแค่ถูกๆนะ ลุงมงคลว่า


และเมื่อมีคนถามว่า แลนี้นั่งได้กี่คน ลุงแกตอบกลับมาว่า นั่งได้คนเดียว แฟนนาคห้ามนั่ง!


เกร็ดความรู้เกี่ยวกับแลอีกอย่างหนึ่งก็คือ
แลแห่นาคนั้นห้ามผู้หญิงจับ ห้ามคนที่ไม่ได้รับอนุญาตจับ
ไม่งั้นหัวจะล้าน! ลุงเคยเห็นมาแล้ว

 

 

 


อีกผลงานหนึ่งที่มีการนำมาโชว์ คือ การทำเครื่องดนตรีไทย เช่น ซออู้ ซอด้วง
 

ลุงสำราญ หมื่นพันธ์ ได้เล่าถึงวิธีการทำซออย่างน่าสนุก พร้อมกับเล่าว่า สายซอนั้น ลุงเอาสายเบรกจักรยานที่ทิ้งแล้วมาทำ


เมื่อถามว่า แล้วถ้าเค้าไม่ทิ้งล่ะ ลุงจะทำอย่างไร?


ลุงแกตอบว่า ถ้าเขาไม่ทิ้ง เราก็ไม่ได้ทำ
เป็นซอที่ขึ้นอยู่กับชะตาชีวิตจักรยานจริงๆ


เมื่อถามต่อว่า ทำไมลุงถึงทำซอ?
ลุงตอบอย่างยิ้มแย้มว่า ก็เพราะใจรัก ตนเล่นซอมาตั้งแต่เด็ก เลยหัดทำ


การได้ทำในสิ่งที่ตนเองรักนี่มันช่างดีจริงๆ ว่าไหม ?


---


จากฐานการเรียนรู้นี้ เรายังได้รู้จักพิธีการเลี้ยงผีปู่ของชาวนาบัว


ชาวนาบัวจะเลี้ยงผีปู่ประมาณ เดือน 4 - เดือน 7 ในช่วงฤดูทำนา แต่ละหมู่บ้านจะเลี้ยงผีปู่ไม่พร้อมกัน


ในการเลี้ยงผีปู่นั้น จะมีการแก้บนของชาวนาบัวในงานอีกด้วย
ชาวนาบัวจะแก้่บนในพิธีเลี้ยงผีปู่ปีละ 1 ครั้งเท่านั้น (ไม่ว่าจะบนไว้กี่ครั้งก็ตาม)


นอกจากนี้ ยังมีพิธีปักธงของแต่ละหมู่บ้าน


จากการสอบถามนายประเจตน์ หมื่นพันธ์ นายกอบต.นาบัว ว่าประเพณีนี้เป็นอย่างไร


นายประเจตน์ บอกว่า ในช่วงวันสงกรานต์ ชาวนาบัวจะนำธงไปปักไว้ที่วัด


เมื่อสิ้นสุดเทศกาลสงกรานต์ แต่ละหมูบ้านจะเลือกธงจากที่ปักไว้มาเพียงหมู่บ้านละ 1 ธง เพื่อนำไปปักไว้ที่เนินเขาของแต่ละหมู่บ้าน โดยแต่ละหมู่บ้านจะมีเนินที่สูงที่สุดประจำหมู่บ้าน 1 เนิน


เป็นการแสดงให้เห็นว่า ใครจะไปตัดไม้ทำลายป่าบริเวณนั้นไม่ได้

เพราะป่าคือซูเปอร์มาร์เก็ตของชาวบ้าน
เป็นแหล่งอาหารที่ชาวบ้านหวงแหน


หากปีใด หมู่บ้านไหน ไม่นำธงไปปัก ปีนั้น หมู่บ้านนั้นจะได้รับภัยพิบัติ ฝนฟ้าจะไม่ตกต้องตามฤดูกาล

 

เป็นกุศโลบายในการอนุรักษ์ป่าไม้ที่ดีจริงๆ


---


ศูนย์การเรียนรู้ที่ 2 คือ "ศูนย์การเรียนรู้เกษตรผสมผสาน" ของลุงทวี สีดารักษ์ หรือลุงแปว


สวนของลุงเป็นการทำเกษตรแบบผสมผสานอย่างแท้จริง


เช่น เมื่อหมดหน้านา ลุงก็ปลูกข้าวโพดบนที่นาแทน


บ่อเลี้ยงปลาของลุง มีเล้าไก่อยู่ข้างบน


มีการเพาะพันธุ์กบ เพาะพันธุ์ปลาจำนวนมาก


มีวิธีเพาะเห็ด โดยไม่ต้องทำโรงเพาะ


วิธีการไล่แมลงศัตรูพืชก็ใช้วิธีการรมควัน ไม่ใช้สารเคมีใดๆทั้งสิ้น

 

บ่อกบ

 

บ่อกบ (2)

 

บ่อเพาะพันธุ์ปลา


ลุงได้เริ่มทำการเกษตรผสมผสานมาตั้งแต่ปี 2539 

พอทำสำเร็จก็มีคนเข้ามาศึกษา เริ่มมีคนมาขอพันธุ์ปลา พันธุ์กบ
ลุงแกก็ให้ไปฟรีๆ


ลุงแปวบอกว่า สวนของลุงเป็นสวนปลอดสารเคมี
ลุงมีพอกินพอใช้ ไม่ต้องไปซื้อหา อยู่อย่างพอเพียง


ลุงยังบอกปรัชญาดำเนินชีวิตของแกอีกด้วยว่า
"ชีวิตผมต้องทำ ไม่ทำก็ไม่สำเร็จ"


แน่ะ .. คำคมลุงเท่มาก


อ้อ ที่สวนของลุงแปว ยังมีกระท่อมเล็กๆเป็นโฮมสเตย์ให้นักท่องเที่ยวได้เข้าพักด้วยนะ
น่าจะได้บรรยากาศดีไม่ใช่น้อย

 

เพาะเห็ด

 

ทุ่งข้าวโพดบนนาข้าว

 

ลุงแปว


---


ศูนย์การเรียนรู้ที่ 3 "กลุ่มดูแลสุขภาพด้วยภูมิปัญญาพื้นบ้าน" ของนางเตือนใจ ขุมขำ


ศูนย์นี้เป็นศูนย์แนะนำสมุนไพรพื้นบ้านที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้


มีทั้งใบหนาด ที่นอกจากจะใช้ไล่ผีได้แล้ว (?) ยังใช้ขับลม แก้ปวดท้อง แก้โรคทางเดินหายใจต่างๆ 
ต้มให้ผู้หญิงคลอดลูกใหม่ๆใช้ดื่มขับเลือดเสียได้ด้วย


อีกทั้งใบพลับพลึงที่สามารถใช้แก้บวม แก้ฟกช้ำ และใบต่างๆอีกมากมายนับไม่ถ้วน


นอกจากนี้ก็ยังมีน้ำสมุนไพรให้ทดลองชิม


นอกจากสมุนไพรแล้ว ยังมีบริการนวดแผนไทย
ใครเมื่อยก็ลองไปนวดดูได้

 

 

ศูนย์สมุนไพร


ศูนย์การเรียนรู้นี้ ไม่ได้เป็นศูนย์ที่ให้บริการโดยตรงเหมือนกับโรงพยาบาล


ถ้าเจ็บป่วยเป็นอะไรมาก็จะดูแลให้ ไม่มีค่าใช้จ่าย แล้วแต่ศรัทธาของผู้มาใช้บริการ ศรัทธาให้เท่าไรกัน


---


เมื่อชาวนาบัวพามติชนออนไลน์และคณะเที่ยวชมศูนย์การเรียนรู้ของตำบลจนจบแล้ว


ก็ถึงเวลาที่จะเดินทางขึ้นไปพักยัง "ภูขัด" หรือ "บ้านบน" ในคำเรียกของชาวนาบัว (ชาวนาบัวจะเรียกชาวม้งที่อาศัยอยู่บนภูขัดว่า บ้านบน เพราะการเรียกบ้านบน-บ้านล่าง จะให้ความรู้สึกสนิทสนมและไม่เป็นการดูถูกเชื้อชาติกัน)


รถที่จัดมารับขึ้นยอดภูขัดครั้งนี้
นายกอบต.ประเจตน์บอกว่า ได้จัด "รถเปิดประทุน" มาให้


เป็นรถเปิดประทุนหลายที่นั่ง ให้เลือกนั่งตามอัธยาศัย
ใช่แล้ว... "รถกระบะ" นั่นเอง


เหตุเพราะทางขึ้น ภูขัด นั้นลาดชัน (เกือบ) มาก
รถตู้ รถเก๋ง และรถที่ไม่ใช่โฟร์วีล ขึ้นไปไม่ได้


แต่ที่สำคัญกว่านั้น ทางขึ้นภูขัด กว่าครึ่งเป็นถนนดิน
มั่นใจได้ว่า หากใครได้นั่งกระบะเปิดประทุนไป รับรอง "ผมแดง ตัวแดง" กันทุกราย

 

 

นั่งรถออกจากศูนย์การเรียนรู้


ระหว่างทางขึ้น ไปบนยอดภูนั้น นายกประเจตน์ ได้เล่าให้ฟังว่า
ทางขึ้นยอดภูนี้ แต่เดิม เป็นถนนดินตลอดทั้งสาย เดินทางลำบากมาก
ต้องใช้เวลาเดินทางถึง 2 ชั่วโมง จากบ้านล่างไปบ้านบน


แต่พอทางชาวภูขัดรู้ว่ากำลังจะได้เป็นเจ้าภาพจัดงานเวทีวิชาการชาวบ้านครั้งที่ 15 นี้
ผู้ใหญ่บ้านภูขัดก็ได้พยายามของบมาทำถนนให้ดีขึ้นกว่าเดิม


ซึ่งก็เป็นผลสำเร็จ จากเดิมถนนนี้เป็นทางดินล้วน
ตอนนี้มีทางลาดยางเพิ่มขึ้นมาหลายกม.
เหลือทางดินเพียง 8 กม. เท่านั้น


ถึงยอดภูขัด ก็ตกค่ำพอดี อากาศที่นี่ก็เย็นไม่ใช่น้อย 
ลมก็แรงไม่ใช่เล่น ฝุ่นบนนี้ก็เยอะไม่แพ้ถนนที่เดินทางมา


ทุกคนที่อยู่ที่นี่เลยได้ผมแดง ตัวแดง กันถ้วนหน้า (นึกว่าจะรอดแล้วเชียว!)


อ๊ะ พื้นที่หมดแล้ว... โปรดติดตามงาน "เวทีวิชาการชาวบ้าน" ที่บ้านภูขัด ต่อได้ในตอนหน้า


แล้วพบกันใหม่

 


 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 



http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1325148925&grpid=01&catid=09&subcatid=0901