วันพฤหัสบดีที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2554

“การปฏิรูปนโยบายและกฎหมาย เพื่อลดการผูกขาดและสนับสนุนการแข่งขันในเศรษฐกิจไทย”

 "การปฏิรูปนโยบายและกฎหมาย
เพื่อลดการผูกขาดและสนับสนุนการแข่งขันในเศรษฐกิจไทย"
กฎหมายการแข่งขันทางการค้าของประเทศไทย
ประเทศไทยมีการบังคับใช้ พ.ร.บ. การแข่งขันทางการค้า พ.ศ. ๒๕๔๒ มาแล้วเป็นเวลากว่า ๑๒ ปี หากแต่ยังไม่เคยมีการกล่าวโทษ หรือ ดาเนินคดีแก่ผู้ประกอบการแม้แต่รายเดียว ซึ่งในหลายกรณีนั้นแม้จะมีความผิดที่ชัดเจนแต่ขาดหลักเกณฑ์ทางกฎหมายบังคับใช้ ทาให้ผู้บริโภคในสังคมไทยไม่ได้รับความเป็นธรรมในการบริโภคสินค้า ขณะเดียวกันผู้ประกอบการด้วยกันก็ไม่ได้รับการแข่งขันที่เป็นธรรม
อย่างไรก็ตามวัตถุประสงค์หลักเครือข่ายวิชาการเพื่อการปฏิรูป ภายใต้งานสมัชชาเฉพาะประเด็นที่ต้องการนาเสนอ คือ  เราไม่ได้อยากให้ทุกอุตสาหกรรมต้องมีการแข่งขัน"เสรี" แต่ที่แน่ๆ ต้องมีการแข่งขันที่ "เป็นธรรม" ในระหว่างคู่ค้าที่เกี่ยวข้อง (ซึ่งแต่ละ sector ก็จะมีธรรมชาติ และรายละเอียดของความเป็นธรรมที่ต่างกัน)  เราอยากเห็น การแข่งขันที่เป็นธรรม เพราะเราอยากให้เกิดประโยชน์ต่อผู้บริโภค และเป็นการสร้างความเข้มแข็งของคู่ค้าอย่างกว้างขวาง แทนที่จะจากัดอยู่ในบางกลุ่ม  สิ่งที่เรากาลังเสนอ ไม่ใช่กลไกรับเรื่องร้องเรียน และทา ruling ว่า เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรม หรือไม่ แต่เป็นกลไกของสังคม (กลไกที่เป็นกลาง และมองเชิงรุก) เพื่อให้เกิดการแข่งขันที่เป็น ธรรม รวมทั้ง challenge นโยบายรัฐ ที่อาจจะจากัดการแข่งขัน หรือแม้กระทั่งสนับสนุนการดาเนินการ ที่เป็นการสร้างความไม่เป็นธรรม ทางการค้า (โดยไม่จาเป็น)
สภาพปัญหาของการบังคับใช้กฎหมายการแข่งขันทางการค้าไทย
ความล้มเหลวในการบังคับใช้กฎหมายการแข่งขันทางการค้าเกิดจากปัจจัยที่หลากหลายซึ่งเชื่อมโยงกัน โดยรากเหง้าของปัญหาเกิดมาจาก ๖ สาเหตุหลัก ดังต่อไปนี้
(๑) ปัญหาในเชิงองค์กร
โครงสร้างและที่มาของคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า1 มีความเสี่ยงต่อการแทรกแซงทางการเมือง และการถูกครอบงาโดยกลุ่มผลประโยชน์ทางธุรกิจ จากการศึกษาของ เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ กับ
1 มาตรา ๖ แห่งพ.ร.บ.การแข่งขันทางการค้า พ.ศ.๒๕๔๒ กาหนดให้มีคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า ประกอบด้วย
๑ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เป็นประธานกรรมการ
๒ ปลัดกระทรวงพาณิชย์เป็นรองประธานกรรมการ
๓ ปลัดกระทรวงการคลัง
๔ ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งมีความรู้และประสบการณ์ทางนิติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ พาณิชยศาสตร์ การบริหารธุรกิจหรือการบริหารราชการแผ่นดิน มีจานวนไม่น้อยกว่าแปดคนแต่ไม่เกินสิบสองคนซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง โดยต้องแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิภาคเอกชนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งเป็นกรรมการ
๕ อธิบดีกรมการค้าภายในเป็นกรรมการและเลขานุการ
สุนีย์พร ทวรรณกุล (๒๕๔๙) พบว่า กรรมการการแข่งขันทางการค้าบางท่านมีความสัมพันธ์ทั้งทางตรงและทางอ้อมกับธุรกิจที่อาจมีพฤติกรรมการค้าที่ไม่เป็นธรรม
สานักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าขาดความเป็นอิสระจากทางการเมือง ขาดหลักเกณฑ์ และขั้นตอนในการบังคับใช้กฎหมายที่โปร่งใส และไม่มีบทบาทในการกาหนดแนวนโยบายเพื่อสนับสนุนการแข่งขัน นอกจากนี้ยังขาดความเป็นอิสระด้านการเงินเนื่องจากเป็นหน่วยงานภายใต้การกากับดูแลของกระทรวงพาณิชย์
(๒.) ปัญหาการดาเนินการ
ความผิดพลาดในเชิงโครงสร้างของสานักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าและคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าทาให้การบังคับใช้กฎหมายการแข่งขันทางการค้าไม่ได้รับการสนับสนุนและไม่มีพัฒนาการในการบังคับใช้กฎหมายแต่อย่างใดในช่วง ๑๒ ปีที่ผ่านมา
(๒.๑) ขาดหลักเกณฑ์ประกอบในการบังคับใช้กฎหมาย เช่น เกณฑ์การควบรวมธุรกิจ (Merge), เกณฑ์ วิธี และเงื่อนไขในการขออนุญาตกระทาการรวมธุรกิจ หรือร่วมกันลดหรือจากัดการแข่งขัน, แนวทางในการบังคับใช้มาตรา ๒๙ ว่าด้วยการห้ามพฤติกรรมใดๆที่เป็นการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม (Unfair Trade Practices) และการขาดกฎระเบียบประกอบการบังคับใช้กฎหมาย เป็นต้น
(๒.๒) การขาดงบประมาณและทรัพยากรบุคคลที่พอเพียง
การดาเนินการของสานักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าถูกจากัดด้วยความจากัดทางงบประมาณ โดยได้รับงบประมาณเพียงปีละ ๒-๓ ล้านบาทเท่านั้น นอกจากนี้การขาดแคลนบุคลากรก็ยังเป็นอุปสรรคสาคัญอีกประการหนึ่งในการปฏิบัติหน้าที่ เนื่องจากสานักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้ามีสถานภาพที่เป็นหน่วยราชการ การดึงดูดนักเศรษฐศาสตร์ และนักกฎหมายที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญด้านกฎหมายการแข่งขันทางการค้าจึงเป็นสิ่งที่ทาได้ยาก และบุคลากรมักถูกดึงตัวไปปฏิบัติหน้าทื่อื่นๆที่รัฐบาลให้ความสาคัญมากกว่า
การแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กาหนดในกฎกระทรวง ซึ่งมีข้อกาหนดดังนี้
ข้อ ๑
- สาเร็จการศึกษาไม่ต่ากว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่าในสาขา นิติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ พาณิชยศาสตร์ และทางานหรือเคยทางานที่ต้องใช้ความรู้ดังกล่าวมาไม่น้อยกว่า ๕ ปี
- รับราชการหรือเคยรับราชการในตาแหน่งไม่ต่ากว่ารองอธิบดีหรือเทียบเท่า
- เป็นหรือเคยเป็นประธานกรรมการ ผู้อานวยการ ผู้จัดการ หุ้นส่วนผู้จัดการ หรือบุคคลซึ่งมีอานาจจัดการธุรกิจไม่น้อยกว่า ๕ ปี
ข้อ ๒ ในการเสนอชื่อให้
- สภาหอการค้าและสภาอุตสาหกรรมเสนอรายชื่อแห่งละ ๕ ชื่อเพื่อให้ สนง. ตรวจสอบคุณสมบัติให้ รมว. พาณิชย์คัดเลือก 2-3 คน
- กระทรวงการคลังและกระทรวงพาณิชย์เสนอชื่อแห่งละ ๒-๓ คน เพื่อให้ รมว.พาณิชย์เสนอชื่อเป็นกรรมการ
(๓.) ปัญหาของกฎหมาย
(๓.๑) กฎหมายไม่ครอบคลุมพฤติกรรมการค้าที่ไม่เป็นธรรมของรัฐวิสาหกิจ
ประเทศไทยมีรัฐวิสาหกิจอีกจานวนหนึ่งที่ประกอบกิจการในเชิงพาณิชย์โดยแข่งขันโดยตรงกับผู้ประกอบการ โดยรัฐวิสาหกิจาง งย งมีอานาจผูกขาดทางกฎหมาย ทาให้คู่แข่งมีสถานภาพเพียง "ผู้รับสัมปทาน" หรือ "ผู้ร่วมการงาน" กับรัฐวิสาหกิจเหล่านี้เท่านั้น มิได้เป็นผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการโดยตรง รัฐวิสาหกิจเหล่านี้สามารถสร้างรายได้จากการเก็บ "ค่าต๋ง" จากการให้สัมปทานแก่ผู้ประกอบการเอกชนโดยที่ไม่ต้องลงทุนใดๆ ในขณะเดียวกัน บริษัทเอกชนที่ได้รับสัมปทานผูกขาดก็สามารถสร้างกาไรได้อย่างงามจากการผูกขาด โดยผู้ที่เสียประโยชน์จากระบบดังกล่าวก็คือ ผู้ใช้บริการหรือผู้บริโภคที่ต้องแบกรับค่าใช้จ่ายที่สูงจากราคาสินค้าหรือค่าบริการที่แพงเกินควร
การผูกขาดตลาดโดยรัฐวิสาหกิจเป็นประเด็นที่น่าห่วงใยอย่างยิ่งเนื่องจาก มาตรา ๔ แห่ง พ.ร.บ. การแข่งขันทางการค้า พ.ศ. ๒๕๔๒ กาหนดว่ากฎหมายไม่บังคับใช้กับรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการทางงบประมาณ2 ซึ่งหมายความว่า ปัญหาการผูกขาดที่เกี่ยวเนื่องกับรัฐวิสาหกิจจะไม่ได้รับการแก้ไขเยียวยาแต่อย่างใด
(๔.) บทลงโทษไม่เหมาะสม
บทลงโทษตามพ.ร.บ.การแข่งขันทางการค้า พ.ศ. ๒๕๔๒ เป็นบทโทษทางอาญา โดยกาหนดโทษจาคุกไม่เกิน ๓ ปี หรือปรับไม่เกิน ๖ ล้านบาท หรือทั้งจาทั้งปรับ (มาตรา ๕๑) และในกรณีที่กระทาความผิดซ้าต้องระวางโทษเป็นทวีคูณ แต่กรณีมีโทษปรับหรือจาคุกไม่เกิน ๑ ปี คณะกรรมการมีอานาจเปรียบเทียบปรับแทนได้3 อย่างไรก็ตามยังขาดบทลงโทษาง กคร ง ร น ทาให้กระบวนการเอาผิดผู้ละเมิดกฎหมายการแข่งขันทางการค้าใช้เวลานาน นอกจากนี้ยังไม่มีการพิจารณาลงโทษตามความรุนแรงของการกระทาผิดอันจะเป็นแรงจูงใจให้ผู้ประกอบการไม่มีพฤติกรรมละเมิด
(๕.) ภารกิจของสานักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าขาดการเชื่อมต่อกับประชาชน
สานักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าของประเทศไทยมีกรอบภารกิจที่ค่อนข้างแคบเมื่อเทียบกับในต่างประเทศ เนื่องจากมิได้ปฏิบัติภารกิจในส่วนของการแข่งขันทางการค้าที่ไม่เป็นธรรมที่เกี่ยวโยงโดยตรงกับผู้บริโภค เช่น การโฆษณาที่ไม่เป็นจริง การกาหนดโปรโมชั่นในลักษณะที่เป็นการหลอกลวงผู้บริโภค การกากับดูแลสัญญาที่ไม่เป็นธรรม ฯลฯ เนื่องจากบทบัญญัติในส่วนนี้มิได้อยู่ในกฎหมายว่าด้วยการแข่งขันทางการค้า หากแต่อยู่ในกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งสานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สานักนายกรัฐมนตรี เป็นหน่วยงานที่ปฏิบัติภารกิจในส่วนนี้ ด้วยเหตุผลดังกล่าว ผู้บริโภคทั่วไปจึงมิได้ให้ความสาคัญแก่กฎหมายฉบับนี้เพราะมองว่าเป็นกฎหมายที่มุ่งใช้เฉพาะสาหรับปัญหาข้อพิพาทระหว่างธุรกิจด้วยกันเองเท่านั้น
2 บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ส่วนราชการและ/หรือรัฐวิสาหกิจมีทุนอยู่ด้วยเกินกว่าร้อยละ ๕o
3 มาตรา ๕๖ บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ที่มีโทษปรับหรือจาคุกไม่เกิน ๑ ปี ให้คณะกรรมการมีอานาจเปรียบเทียบได้ ในการใช้อานาจดังกล่าวคณะกรรมการอาจมอบหมายให้คณะอนุกรรมการ เลขาธิการ หรือพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นผู้กระทาแทนได้
เมื่อผู้ต้องหาได้ชาระเงินค่าปรับตามจานวนที่เปรียบเทียบภายในระยะเวลาที่กาหนดแล้วให้ถือว่าคดีเลิกกันตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
(๖.) การขาดบทบาทในการสนับสนุนการแข่งขันทางการค้า (Competition Advocacy)
แม้กฎหมายการแข่งขันทางการค้าของไทยอาจช่วยป้องกันไม่ให้เกิดพฤติกรรมที่เป็นการจากัดการแข่งขัน เช่น การใช้อานาจเหนือตลาด การรวมธุรกิจกัน หรือการรวมหัวกันระหว่างผู้ประกอบการ แต่กฎหมายการแข่งขันของไทยไม่สามารถจัดการกับนโยบายของรัฐหรือการออกกฎระเบียบของรัฐที่เป็นอุปสรรคต่อการแข่งขันได้ เช่น การกาหนดอัตราภาษีนาเข้าสูง การจากัดนักลงทุนต่างชาติเข้ามาประกอบกิจการในไทย การให้บัตรส่งเสริมการลงทุนที่มีเงื่อนไขเอื้อให้นักลงทุนต่างชาติรายใหญ่เข้ามาได้ และการดาเนินนโยบายแปรรูปรัฐวิสาหกิจที่อาจเกิดผลกระทบต่อสังคมวงกว้าง คณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าจึงจาเป็นต้องร่วมมือกับภาครัฐในการเสนอแนะนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการแข่งขันของประเทศด้วย โดยเฉพาะนโยบายการแปรรูปรัฐวิสาหกิจที่ต้องให้คาแนะนาและร่วมศึกษาว่าการแปรรูปรัฐวิสาหกิจใดจะเป็นการถ่ายโอนอานาจการผูกขาดจากรัฐไปเป็นการผูกขาดโดยเอกชน ซึ่งจะเกิดผลเสียต่อประชาชนโดยทั่วไป จึงควรยับยั้งการแปรรูปในกิจการดังกล่าว นอกจากนี้ควรมีบทบาทในการให้คาปรึกษาผู้ประกอบการหรือคู่ค้าที่มีอานาจต่อรองหรือข้อมูลน้อยกว่า เช่น เกษตรกรในระบบเกษตรพันธะสัญญา เป็นต้น
ความท้าทายในอนาคตที่เศรษฐกิจไทยต้องเผชิญ
นอกเหนือจากเหตุผลและสถานการณ์ปัญหาดังกล่าวข้างต้น ประเทศไทยกาลังจะเผชิญกับความท้าทายในการแข่งขันทางการค้าที่เพิ่มขึ้น จากการเข้าร่วม ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community) ในปี พ.ศ.๒๕๕๘ อันจะส่งผลให้มีผู้ประกอบการจากประเทศสมาชิกเข้ามาแข่งขันในระบบเศรษฐกิจไทยมากขึ้น จึงมีความจาเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปฏิรูปพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ.๒๕๔๒ เพื่อสร้างบรรทัดฐานและกฎเกณฑ์ในการควบคุมการแข่งขันทางการค้าที่กว้างขวางขึ้นนี้ ให้ดาเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นธรรม และก่อให้เกิดประโยชน์สุงสุดแก่ผู้บริโภคในประเทศ
ทางออกของปัญหา
๑. แปลงสภาพสานักงานการแข่งขันทางการค้าให้เป็นองค์กรอิสระ เพื่อให้ปลอดจากการแทรกแซงทางการเมือง
๒. ยกเลิกข้อยกเว้นจากข้อบังคับใช้กฎหมายที่ให้แก่รัฐวิสาหกิจตามมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. ๒๕๔๒ โดยให้คณะกรรมการจัดทาหลักเกณฑ์ในการพิจารณาพฤติกรรมที่มีการร้องเรียนของรัฐวิสาหกิจว่าอยู่ภายใต้ข้อบังคับของกฎหมายหรือไม่
๓. ปรับปรุงบทลงโทษให้เน้นมาตรการทางปกครองและทางแพ่งมากกว่าการลงโทษทางอาญา โดยให้คณะกรรมการแข่งขันทางการค้ามีหน้าที่กาหนดบทลงโทษทางปกครองและทางแพ่ง และทาหน้าที่ส่งฟ้องคดีความทางอาญา ทั้งนี้การคิดค่าเสียหายทางแพ่งควรเป็นจานวนเท่ากับความเสียหายที่ประเมินได้
๔. ขยายกรอบภารกิจของคณะกรรมการแข่งขันทางการค้า ให้มีอานาจหน้าที่ในการเสนอข้อคิดเห็นต่อหน่วยงานรัฐต่างๆ ในการออกกฎ ระเบียบ และนโยบายของภาครัฐที่จะมีผลกระทบต่อการแข่งขันในตลาด นอกจากนี้ และมีหน้าที่ให้คาปรึกษา ช่วยเหลือผู้ประกอบการหรือคู่ค้าที่มีอานาจการต่อรองหรือข้อมูลน้อยกว่า เช่น เกษตรกรในระบบเกษตรพันธะสัญญา เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น