1.How long have you been working for this problem ? I started working as a volunteer in 1985 for less-fortunate children. Later on in 1996 I became a full-time worker since I got more serious with marginalized population issues. In 2000 I focused to work with the homeless. So, I’ve been in this field for 22 years; 11 years for marginalized people and 7 years for the homeless. 2. The main problem of those homeless e.g. where are they from and why are they here ? The problem develops...
วันพฤหัสบดีที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2554
“การปฏิรูปนโยบายและกฎหมาย เพื่อลดการผูกขาดและสนับสนุนการแข่งขันในเศรษฐกิจไทย”
[สช.ร่อนข่าว] ฉบับที่ 13 เกาะติด...สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 4
วันที่: 29 กันยายน 2554, 18:12
หัวเรื่อง: [สช.ร่อนข่าว] ฉบับที่ 13 เกาะติด... สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 4
ถึง:
ฉบับที่ 13 เกาะติด...สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 4
| |||
| |||
| |||
|
วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2554
มติวิปรัฐบาลเห็นชอบให้รัฐบาลยืนยันกฎหมายต่อไปรวม 17 ฉบับ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นร่าง ที่เสนอโดยภาคประชาชน
ด้าน นายชลน่าน ศรีแก้ว เลขานุการวิปรัฐบาล กล่าวว่า วิปรัฐบาลจะยืนยันร่างกฎหมายที่เสนอโดยภาค ประชาชนทั้งหมดเพราะเห็นว่าเป็นการให้ความสำคัญ กับประชาชนที่เข้าชื่อเสนอกฎหมายกันแม้บางร่างจะมีปัญหากันอยู่ เช่น
กฎหมายคุ้มครองผู้เสียหายทาง การแพทย์ เนื่องจากขณะนี้เห็นว่ายังไม่มีการพิจารณา ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มแพทย์กับ กลุ่มผู้บริโภคตอนนี้ก็ยังถกเถียงกันอยู่ สภายังไม่ได้พิจารณา จึงสมควรคง ร่างเอาไว้ไม่อยากให้ตกไป เพราะประชาชนอุตส่าห์รวบรวมรายชื่อกันมาแล้วกว่าจะเอาเข้าได้ก็ต้องไปตรวจสอบชื่อว่าคนลงชื่อมีอยู่จริงหรือไม่ ถึงสามเดือนกว่าจะเข้ามาได้ก็ควรต้องคงไว้ แต่ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มหมอกับภาคประชาชน ก็ค่อยมาคุยกันต่อไป นอกจากนี้กฎหมายที่เสนอโดยองค์กรอิสระเช่น ศาลปกครองที่มีความจำเป็นเช่น
กฎหมายจัดตั้งศาลปกครองที่ต่างๆ อาทิ ภูเก็ต แบบนี้วิปรัฐบาลก็เห็นด้วย ที่ต้องคงกฎหมายขององค์กรอิสระเอาไว้
ส่วนกฎหมายการชุมนุมในที่สาธารณะที่อยู่ในชั้นวุฒิสภา วิปรัฐบาลเห็นว่าไม่สมควรยืนยัน เพราะ
จากข้อมูลที่ได้จากคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายเองก็บอกว่ากฎหมายฉบับนี้มี ปัญหาความขัดแย้งมาก จาก การไปรับฟังความเห็นหลายฝ่ายหลายกลุ่มก็ไม่เห็นด้วย กับกฎหมายชุมนุมในที่สาธารณะ ซึ่งวิปรัฐบาลก็เห็นด้วย จึงไม่ยืนยันการคงไว้ของกฎหมายชุมนุมในที่สาธารณะ อย่างไรก็ตามก็ต้องแล้วแต่คณะรัฐมนตรีวันอังคารนี้ว่า จะเอาด้วยหรือไม่ แล้วก็ต้องดูด้วยว่าเสียงส่วนใหญ่ของรัฐสภาจะเห็นด้วยหรือไม่ คือยังไม่เสร็จที่ครม. เพราะสุดท้ายต้องไปดูในที่ประชุมด้วยตอนโหวตว่าจะคงไว้หรือให้ตกไป นพ.ชลน่านกล่าว
ทั้งนี้ มีรายงานว่าสำหรับร่างกฎหมาย 17 ฉบับ ที่วิปรัฐบาลเสนอให้ครม.ยืนยันในวันอังคารที่ 20 ก.ย. จากกฎหมายที่ค้างการพิจารณาอยู่ทั้งในชั้น
สว.-สส. และในระเบียบวาระประชุม 302 ฉบับ ที่น่าสนใจเช่น
พ.ร.บ.สัญชาติ
พ.ร.บ.องค์กรคุ้มครองผู้บริโภค รวมถึง กฎหมายที่เสนอโดยประชาชนหนึ่งหมื่นชื่อเข้าชื่อกันและมีปัญหาอยู่เช่น
พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการ ใช้บริการทางการแพทย์
ส่วน นายไพจิต ศรีวรขาน รองประธาน วิปรัฐบาล กล่าวว่า จะเสนอให้มีการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเรื่องยาเสพติด ต่อสภาในวันพุธที่ 21 ก.ย. มีกรรมาธิการ 31 คน เป็นรัฐบาล 5 คน สส. 26 คน แบ่งเป็นพรรคเพื่อไทย 14 คน พรรคประชาธิปัตย์ 8-9 คน ที่เหลือเป็นพรรคอื่นๆ ในส่วนตัวแทนของรัฐบาลเห็นว่า ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกฯ หรือ พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รมว.ยุติธรรม มีความเหมาะสมที่จะเป็นคณะกรรมาธิการ
กระบวนการนิติบัญญัติไทย
กระบวนการนิติบัญญัติไทย
ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 เป็นระบอบประชาธิปไตย มีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด และมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเกิดขึ้น รัฐสภาได้กลายเป็นสถาบันที่รวบรวมเอาเจตจำนงสูงสุดของประชาชนและเป็นผู้ใช้อำนาจนิติบัญญัติ (legislature) ทำหน้าที่บัญญัติกฎหมายและควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล องค์กรนิติบัญญัติอาจมีได้หลายรูปแบบ ทั้งแบบสภาเดียว (unicameral system) และแบบสองสภา (bicameral system) ระบบของไทยในปัจจุบันตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 (ฉบับแก้ไข) มีสองสภา คือสภาผู้แทนราษฎรมาจากการเลือกตั้งจำนวน 500 คน และวุฒิสภามาจากการเลือกตั้งและจากการสรรหา รวม 150 คน โดยมีประธานสภาผู้แทนราษฎรทำหน้าที่ประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภาเป็นรองประธานรัฐสภา
พระราชบัญญัติเป็นกฎหมายซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้น โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ผู้มีอำนาจในการเสนอร่างพระราชบัญญัติมีด้วยกันทั้งสิ้น 4 ฝ่าย ได้แก่
- คณะรัฐมนตรี
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่า 20 คน
- ศาลหรือองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ
- ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งหมื่นคนเข้าชื่อกันเพื่อเสนอกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิทธิเสรีภาพและแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ
การเสนอร่างพระราชบัญญัติของคณะรัฐมนตรี เริ่มตั้งแต่กระบวนจัดทำร่างพระราชบัญญัติจากส่วนราชการ กระทรวง กรม หรือหน่วยงานของรัฐที่ปฏิบัติหน้าที่ในเรื่องนั้นๆ เป็นผู้จัดทำ โดยหน่วยราชการอาจใช้ข้าราชการหรือนิติกรภายในหน่วยงานเป็นผู้ร่าง หรืออาจว่าจ้างนักวิชาการหรือผู้เชี่ยวชาญให้จัดทำโครงการศึกษาวิจัยและมอบหมายให้ผู้วิจัยทำหน้าที่ยกร่างกฎหมายขึ้นด้วยก็ได้
หรือในบางกรณีฝ่ายการเมืองอาจเป็นผู้ริเริ่มให้มีร่างพระราชบัญญัติใหม่หรือร่างพระราชบัญญัติที่แก้ไขกฎหมายเดิม เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายที่คณะรัฐมนตรีได้แถลงไว้ต่อรัฐสภา ร่างกฎหมายเหล่านี้ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องในทางนโยบายการบริหารประเทศ เมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการของร่างพระราชบัญญัติแล้ว ก็จะส่งให้คณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งเป็นหน่วยงานกลางด้านการร่างกฎหมายของรัฐบาลเป็นผู้ตรวจพิจารณา คณะกรรมการกฤษฎีกาแบ่งแยกออกเป็นกรรมการร่างกฎหมายต่างๆ จำนวน 12 คณะ แต่ละคณะประกอบด้วยกรรมการร่างกฎหมายจำนวนประมาณ 9 คน การประชุมแบ่งออกเป็น 3 วาระ ได้แก่
- วาระที่ 1 การพิจารณาหลักการทั่วไปและสาระสำคัญของกฎหมาย
- วาระที่ 2 เป็นการตรวจพิจารณารายมาตรา โดยจะเป็นการตรวจพิจารณาทั้งในแง่เนื้อหากฎหมาย (content) แบบของกฎหมาย (format) รวมถึงถ้อยคำที่ใช้
- วาระที่ 3 เป็นการตรวจพิจารณาความสมบูรณ์ของร่างพระราชบัญญัติทั้งฉบับ
เมื่อพิจารณาเสร็จแล้ว สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาจะส่งร่างกฎหมายกลับไปที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเพื่อเสนอร่างพระราชบัญญัติเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง ถ้าร่างพระราชบัญญัติที่ผ่านการตรวจพิจารณานั้นมีการแก้ไขเล็กน้อยหรือเป็นการแก้ไขตามแบบการร่างกฎหมายสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจะเสนอร่างพระราชบัญญัตินั้นต่อคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร (วิปรัฐบาล) และสภาผู้แทนราษฎรต่อไปตามลำดับในระเบียบวาระ ยกเว้นในกรณีที่คณะรัฐมนตรีร้องขอไปยังประธานสภาผู้แทนราษฎรให้ สภาพิจารณาร่างกฎหมายนั้นเป็นเรื่องด่วนซึ่งจะได้รับการพิจารณาก่อน การพิจารณาจะแบ่งเป็น 3 วาระตามลำดับ ได้แก่
วาระที่ 1 ขั้นรับหลักการ
ในวาระที่ 1 จะเป็นการพิจารณาว่าจะรับหลักการแห่งร่างกฎหมายนั้นหรือไม่ โดยให้ผู้เสนอร่างกฎหมายอภิปรายชี้แจงหลักการและเหตุผลต่อสภาผู้แทนราษฎร กรณีเป็นร่างพระราชบัญญัติของคณะรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงซึ่งรับผิดชอบร่างพระราชบัญญัติจะเป็นผู้เสนอร่างพระราชบัญญัติในนามคณะรัฐมนตรี จากนั้นจึงเปิดให้มีการอภิปรายคัดค้านหรือสนับสนุนโดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อการอภิปรายสิ้นลงสุดแล้วที่ประชุมจะลงมติว่าจะรับหลักการแห่งร่างกฎหมายฉบับนั้นหรือไม่ ถ้าที่ประชุมมติรับหลักการก็จะเข้าสู่การพิจารณาในวาระที่ 2 แต่ถ้าไม่รับหลักการ ร่างกฎหมายนั้นก็เป็นอันตกไป
วาระที่ 2 ขั้นการพิจารณาโดยคณะกรรมาธิการและการพิจารณารายมาตรา
การพิจารณาในวาระที่ 2 สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ขั้นตอน คือ การพิจารณาของคณะกรรมาธิการ และการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรภายหลังจากที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว
ในขั้นตอนแรก คือการพิจารณาโดยคณะกรรมาธิการ โดยมากจะเป็นคณะกรรมาธิการวิสามัญซึ่งประกอบด้วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและบุคคลภายนอกก็ได้ กรรมาธิการแต่ละคนอาจเพิ่มมาตราขึ้นใหมหรือตัดทอนหรือแกไขมาตราเดิมได แตตองไมขัดกับหลักการแห่งรางพระราชบัญญัตินั้น หากที่ประชุมคณะกรรมาธิการนั้นเห็นด้วยก็จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมไปตามนั้น แต่ถ้าคณะกรรมาธิการส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย และกรรมาธิการผู้นั้นยืนยันที่จะขอเปลี่ยนแปลงแก้ไขเพิ่มเติม กรรมาธิการผู้นั้นก็มีสิทธิ "ขอสงวนความเห็น" ของตนไว้เพื่ออภิปรายในที่ประชุมสภาให้ที่ประชุมเป็นผู้ชี้ขาด เมื่อคณะกรรมาธิการได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติเสร็จสิ้นแล้ว ก็จะเสนอร่างพระราชบัญญัตินั้นโดยแสดงร่างเดิมและร่างที่แก้ไขเพิ่มเติม พร้อมทั้งรายงานต่อประธานสภา
ขั้นตอนที่สอง คือการพิจารณารายมาตราในที่ประชุมใหญ่ ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรจะพิจารณาร่างพระราชบัญญัตินั้นอีกครั้ง ในการพิจารณานี้จะเป็นการพิจารณารายมาตราไปจนจบ ถ้ามีมาตราใดแก้ไขเพิ่มเติม หรือมีผู้สงวนคำแปรญัตติ หรือกรรมาธิการสงวนความเห็นไว้ ก็จะหยุดการพิจารณาไว้ก่อน และเปิดโอกาสให้สมาชิกได้อภิปรายเฉพาะในมาตรานั้นๆเท่านั้น หลังจากนั้นสภาจะพิจารณาทั้งร่างเป็นการสรุปอีกครั้งหนึ่ง
วาระที่ 3 ขั้นลงมติเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบกับร่างกฎหมาย
ในขั้นตอนนี้ที่ประชุมสภาจะลงมติว่าเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบกับร่างกฎหมาย โดยจะไม่มีการอภิปรายใดๆ อีก หากลงมติเห็นชอบก็จะส่งให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไป แต่ถ้าผลการลงมติไม่เห็นชอบร่างกฎหมายก็จะตกไป
ในลำดับถัดมา สภาผู้แทนราษฎรจะเสนอร่างพระราชบัญญัตินั้นต่อวุฒิสภา วุฒิสภาจะมีหน้าที่พิจารณากลั่นกรองร่างกฎหมายอย่างละเอียดรอบคอบอีกครั้งหนึ่ง เมื่อวุฒิสภาได้รับร่างนั้นแล้ว ก็จะดำเนินการโดยการแบ่งเป็น 3 วาระเช่นเดียวกับการพิจารณาโดยสภาผู้แทนราษฎร ได้แก่ วาระที่ 1 ขั้นพิจารณารับหลักการ วาระที่ 2 ขั้นการพิจารณาโดยคณะกรรมาธิการที่วุฒิสภาตั้งหรือคณะกรรมาธิการเต็มสภา (พิจารณารายมาตรา) วาระที่ 3 ขั้นลงมติ โดยที่วุฒิสภาต้องพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่เสนอมาให้เสร็จภายใน 60 วัน แต่ถ้าเป็นร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวด้วยการเงินต้องพิจารณาให้เสร็จภายใน 30 วัน เว้นแต่วุฒิสภาได้ลงมติขยายเวลาออกไปเป็นกรณีพิเศษซึ่งต้องไม่เกิน 30 วัน ถ้าวุฒิสภาพิจารณาไม่เสร็จภายในกำหนดเวลา ให้ถือร่างพระราชบัญญัตินั้นผ่านความเห็นชอบของวุฒิสภา
ผลการลงมติในวาระที่ 3 ของวุฒิสภามี 3 กรณีดังนี้
- ในกรณีที่เห็นชอบโดยไม่มีการแก้ไข ให้ถือได้ว่าร่างพระราชบัญญัตินั้นได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาแล้ว ให้นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อให้พระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย
- ในกรณีที่ไม่เห็นชอบ ต้องยับยั้งร่างพระราชบัญญัตินั้นไว้ก่อน แล้วส่งร่างคืนไปยังสภาผู้แทนราษฎร จนกระทั่งครบ 180 วัน สภาผู้แทนราษฎรจึงจะสามารถนำกลับมาพิจารณาอีกครั้ง
- ในกรณีที่วุฒิสภาให้มีการแก้ไขร่างพระราชบัญญัติ วุฒิสภาต้องส่งร่างกฎหมายที่แก้ไขเพิ่มเติมนั้นกลับไปยังสภาผู้แทนราษฎร เมื่อสภาผู้แทนราษฎรรับทราบและเห็นชอบด้วยก็ให้นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าฯได้ทันที แต่ถ้าสภาผู้แทนราษฎรไม่เห็นชอบ ให้ทั้งสองสภาตั้งบุคคลที่มีจำนวนเท่ากันขึ้นเป็น "คณะกรรมาธิการร่วมกัน" เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัตินั้นอีกครั้ง โดยต้องรายงานและเสนอร่างกฎหมายที่แก้ไขเพิ่มเติมแล้วต่อทั้งสองสภา ถ้าสภาทั้งสองเห็นด้วยกับเห็นชอบด้วย นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าฯได้ทันที แต่ถ้าสภาใดสภาหนึ่งไม่เห็นชอบด้วย ให้ยับยั้งร่างนั้นไว้ก่อน
ขั้นตอนสุดท้ายคือกระบวนการลงพระปรมาภิไธยโดยพระมหากษัตริย์ นายกรัฐมนตรีจะต้องนำขึ้นทูลเกล้าฯ ภายใน 20 วัน หลังจากที่ได้รับร่างพระราชบัญญัตินั้นจากรัฐสภา หากพระมหากษัตริย์ทรงเห็นชอบและทรงลงพระปรมาภิไธย ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาและมีผลบังคับใช้ หากพระมหากษัตริย์ทรงไม่เห็นชอบและทรงใช้อำนาจยับยั้ง (veto) ร่างพระราชบัญญัตินั้นจะถูกส่งคืนมายังรัฐสภาโดยไม่ทรงลงพระปรมาภิไธย หรืออาจทรงเก็บร่างนั้นไว้โดยไม่พระราชทานคืนมายังรัฐสภาจนล่วงพ้นเวลา 90 วัน ในกรณีนี้รัฐสภาจะต้องประชุมร่วมกันเพื่อปรึกษาร่างพระราชบัญญัตินั้นใหม่ ถ้ารัฐสภามีมติยืนยันตามเดิมด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของสมาชิกทั้งหมดของทั้งสองสภา ให้นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าฯ อีกครั้งหนึ่ง หากพระมหากษัตริย์มิได้ทรงลงพระปรมาภิไธยและทรงพระราชทานคืนมาภายใน 30 วันให้นายกรัฐมนตรีนำร่างพระราชบัญญัตินั้นประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้ใช้บังคับเป็นกฎหมายได้เสมือนหนึ่งว่าพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว
การเสนอร่างกฎหมายโดยประชาชน
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 163 และพระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ. 2542 เปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมทางการเมืองตามระบอบประชาธิปไตยมากขึ้น โดยกำหนดให้ประชาชนจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งหมื่นคนสามารถเข้าชื่อกันเพื่อเสนอร่างพระราชบัญญัติที่มีหลักการเกี่ยวข้องกับเรื่องที่บัญญัติในหมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย และหมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ โดยร่างพระราชบัญญัติที่เสนอจะต้องจัดทำมีรายละเอียดที่จำเป็น ได้แก่
- บันทึกหลักการและเหตุผล และบันทึกวิเคราะห์สรุปสาระสำคัญ
- มีบทบัญญัติที่แบ่งเป็นมาตราชัดเจนเพียงพอที่จะเข้าใจความประสงค์ของการเสนอร่างกฎหมาย
- มีหลักเกณฑ์หรือวิธีการปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย (enforcing instrument)
วิธีการเข้าชื่อเสนอกฎหมายอาจกระทำได้ 2 วิธีคือ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งร่วมกันเข้าชื่อเสนอกฎหมายกันเอง หรืออาจร้องขอให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เป็นผู้ดำเนินการจัดให้มีการเข้าชื่อเสนอกฎหมายก็ได้ ในกรณีที่ประชาชนจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งหมื่นคนเข้าชื่อเสนอกฎหมายกันเอง ให้ยื่นเรื่องต่อประธานรัฐสภาโดยต้องมีเอกสารดังต่อไปนี้
- ร่างพระราชบัญญัติที่จะนำเสนอต่อสภา
- แบบแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับชื่อ ที่อยู่ ลายมือชื่อของผู้เข้าชื่อเสนอกฎหมายและผู้แทนการเสนอกฎหมาย พร้อมทั้งสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้าน
จากนั้นประธานรัฐสภาจะตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารและประกาศรายชื่อผู้เข้าชื่อเสนอกฎหมาย ในขั้นตอนนี้ผู้ใดที่มีรายชื่ออยู่ในประกาศแต่มิได้ร่วมเข้าชื่อเสนอกฎหมายด้วย สามารถยื่นคำร้องต่อประธานรัฐสภาหรือบุคคลที่รัฐสภาแต่งตั้งเพื่อให้ลบชื่อตนเองออกได้ภายในยี่สิบวันหลังจากวันปิดประกาศ เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าวแล้วให้ถือว่ารายชื่อนั้นถูกต้อง และจะถอนการเข้าชื่อในภายหลังอีกมิได้ ภายหลังการตรวจสอบความถูกต้องถ้ารายชื่อยังคงเกินกว่าหนึ่งหมื่นชื่อให้ประธานรัฐสภาดำเนินการให้รัฐสภาพิจารณาร่างพระราชบัญญัตินั้นต่อไป แต่ถ้ารายชื่อเหลือไม่ครบหนึ่งหมื่นชื่อให้ประธานรัฐสภาแจ้งให้ผู้แทนการเสนอกฎหมายทราบ เพื่อดำเนินการจัดให้มีการเข้าชื่อเสนอกฎหมายเพิ่มเติมภายใน 30 วันนับตั้งแต่วันที่ได้รับแจ้ง ถ้าพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าวแล้วรายชื่อยังไม่ครบหนึ่งหมื่นชื่อให้ประธานรัฐสภาสั่งจำหน่ายเรื่อง
ในกรณีที่เป็นการเข้าชื่อโดยการจัดการของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนหนึ่งร้อยคนขึ้นไปยื่นคำขอต่อประธานกรรมการการเลือกตั้งพร้อมทั้งร่างพระราชบัญญัติที่จะเสนอให้สภาพิจารณา เพื่อขอให้ดำเนินการจัดให้มีการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย จากนั้นประธานกรรมการการเลือกตั้งจะจัดส่งร่างพระราชบัญญัติและเอกสารที่เกี่ยวข้องไปให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด เพื่อดำเนินการให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในแต่ละจังหวัดทราบว่ามีการเสนอกฎหมายในเรื่องใด และให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งไปลงชื่อในแบบพิมพ์การเข้าชื่อเสนอกฎหมาย ตามระยะเวลาและสถานที่ที่กำหนดไว้ในจังหวัดที่ตนมีสิทธิเลือกตั้งที่กำหนด โดยที่กำหนดเวลาจะต้องไม่น้อยกว่า 90 วัน นับแต่วันประกาศ เมื่อครบกำหนดให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดรวบรวมแบบพิมพ์การเข้าชื่อเสนอกฎหมายส่งให้คณะกรรมการการเลือกตั้งเพื่อตรวจสอบความถูกต้องและจัดทำบัญชีรายชื่อผู้ที่เข้าชื่อเสนอกฎหมายทั้งหมด จากนั้นจึงนำส่งร่างพระราชบัญญัติและบัญชีรายชื่อต่อประธานรัฐสภา
เมื่อร่างพระราชบัญญัติเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 กำหนดให้มีผู้แทนของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่เข้าชื่อเสนอร่างพระราชบัญญัตินั้นเป็นผู้เสนอและชี้แจงหลักการของร่างพระราชบัญญัติต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร และที่ประชุมวุฒิสภา และจะต้องมีผู้แทนของประชาชนฯ ที่เข้าชื่อเสนอร่างพระราชบัญญัตินั้นเข้าเป็นกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติด้วยจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนกรรมาธิการทั้งหมด เพื่อให้ผู้เสนอร่างกฎหมายได้มีโอกาสให้ชี้แจงและแสดงเหตุผลเพื่อปกป้องเจตนารมณ์ของร่างกฎหมาย หลังจากนั้นสภาก็จะพิจารณาร่างกฎหมายตามขั้นตอนปกติ
ช่องทางการติดตามร่างกฎหมาย
ประชาชนสามารถตรวจสอบความเคลื่อนไหวของร่างกฎหมายต่างๆ ได้จากหน่วยงานต่อไปนี้
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ข่าววิทยุรัฐสภา
ราชกิจจานุเบกษา
นอกจากนี้ยังมีองค์กรสนับสนุนอื่นๆ อีกได้แก่
โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน
คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย
คณะกรรมการพัฒนากฎหมาย สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
การรับฟังความคิดเห็นกฎหมายไทย
คณะกรรมการนโยบายแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนากฎหมาย
เปิดบัญชีกม.293 ฉบับ รอยิ่งลักษณ์ชี้ชะตา
เปิดบัญชีกม.293 ฉบับ รอยิ่งลักษณ์ชี้ชะตา
ที่มา: โพสต์ทูเดย์ (2 สิงหาคม 2554)
โดย ไพบูลย์ กระจ่างวุฒิชัย
นับหนึ่งอย่างเป็นทางการแล้วสำหรับการประชุมรัฐสภาสมัยสามัญทั่วไป เป็นการเริ่มต้นการทำงานของฝ่ายนิติบัญญัติ ในฐานะหนึ่งในสามอำนาจอธิปไตยตามระบอบการเมืองการปกครองของไทย ความสำคัญของฝ่ายนิติบัญญัติ คงจะหนีไม่พ้นการทำหน้าที่กลั่นกรองและพิจารณากฎหมายอันเป็นกลไกการบริหารราชการแผ่นดิน
ล่าสุดสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ได้สรุปบัญชีรายชื่อร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญและร่าง พ.ร.บ.ที่ค้างการพิจารณาในระหว่างอายุสภาผู้แทนราษฎรชุดที่ 23 ทั้งสิ้นจำนวน 293 ฉบับ ให้กับสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี พิจารณาเสนอให้กับคณะรัฐมนตรี (ครม.) ชุดใหม่ ที่จะมี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ว่าที่นายกรัฐมนตรี พิจารณาว่าจะดำเนินการอย่างไรกับกฎหมายที่ค้างสภาดังกล่าว
พิทูร พุ่มหิรัญ เลขาธิการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร อธิบายว่า การดำเนินการของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรเป็นไปตามรัฐธรรมนูญมาตรา 153 ระบุว่า ในกรณีที่มีกฎหมายค้างการพิจารณาอยู่และถ้า ครม.ที่ตั้งขึ้นมาใหม่ภายหลังการเลือกตั้งทั่วไปทำเรื่องร้องขอเข้ามาภายใน 60 วันนับแต่วันเรียกประชุมรัฐสภานัดแรกเพื่อให้รัฐสภาพิจารณาและมติต้องการจะพิจารณากฎหมายฉบับใดต่อตามขั้นตอนที่ค้างการพิจารณาอยู่ แต่ถ้า ครม.ไม่ได้ทำเรื่องร้องของภายในเวลาดังกล่าว
"หมายความว่าเมื่อมี ครม.ชุดใหม่เข้ามาทำหน้าที่แล้วถ้าต้องการให้กฎหมายไหนเดินหน้าเข้าสู่การพิจารณาต่อจากที่ค้างเอาไว้เมื่ออายุสภาชุดที่แล้ว ต้องทำเรื่องเข้ามา เช่น ถ้าเล็งเห็นว่าต้องการพิจารณากฎหมายเดิมต่อ 200 ฉบับก็ต้องทำเรื่องเข้ามา ถ้าไม่ดำเนินการก็ให้ถือว่ากฎหมายนั้นตกไป ซึ่งทั้งหมดเป็นอำนาจการพิจารณาของ ครม." พิทูร กล่าว
สำหรับบัญชีกฎหมายค้างการพิจารณา 293 ฉบับ แบ่งเป็น 6 ลักษณะของขั้นตอนที่ค้างการดำเนินการ ดังนี้
1.ร่าง พ.ร.บ.ที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมาธิการร่วมกัน 2 ฉบับ ได้แก่
(1) ร่าง พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ พ.ศ..
(2) ร่าง พ.ร.บ.การบริหารจัดการที่ดินสงวนหวงห้ามของรัฐ พ.ศ. มีสาระสำคัญ คือ ให้ยกเลิกการสงวนหวงห้ามที่ดินที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ของทางราชการทั้งหมด ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์แล้ว เพื่อให้โอกาสแก่ผู้เข้าถือครองที่ดินได้ทำประโยชน์ในที่ดินนั้นอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
2.ร่าง พ.ร.บ.ที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมาธิการวุฒิสภา 6 ฉบับ ประกอบด้วย
(1) ร่าง พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ มีสาระสำคัญ คือ การจัดการชุมนุมต้องแจ้งต่อหัวหน้าสถานีตำรวจในท้องที่ที่จะจัดชุมนุมไม่น้อยกว่า 72 ชั่วโมงก่อนเริ่มชุมนุม
(2) ร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคม มีสาระสำคัญ ขยายความคุ้มครองไปถึงลูกจ้างชั่วคราวทุกประเภทของส่วนราชการแก้ไขเพิ่มเติมนิยามคำว่าลูกจ้างให้ครอบคลุมลูกจ้างทั้งหมด เพิ่มสิทธิประโยชน์ครอบคลุมภรรยาและบุตรของผู้ประกันตน
(3) ร่าง พ.ร.บ.เงินทดแทน
(4) ร่าง พ.ร.บ.สัญชาติ
(5) ร่าง พ.ร.บ.องค์กรอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค และ
(6) ร่าง พ.ร.บ.องค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ
3.ร่าง พ.ร.บ.ที่คณะกรรมาธิการสภาฯ พิจารณาเสร็จแล้ว 4 ฉบับ
(1) ร่าง พ.ร.บ.วิชาชีพแพทย์แผนไทย (2) ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค
(3.) ร่าง พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค (4) ร่าง พ.ร.บ.การยางแห่งประเทศไทย
4.ร่าง พ.ร.บ.ที่คณะกรรมาธิการสภาฯ พิจารณาเสร็จแล้วและรอการบรรจุระเบียบวาระ จำนวน 1 ฉบับ
5.ร่าง พ.ร.บ.ที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมาธิการ สภาผู้แทนราษฎรจำนวน 1 ฉบับ คือ
ร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ
6.ร่าง พ.ร.บ.ที่บรรจุระเบียบวาระเพื่อรอการพิจารณาในวาระที่ 1 ของสภาจำนวน 278 ฉบับ อาทิ
ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ร่าง พ.ร.บ.ความเท่าเทียมระหว่างเพศ เป็นต้น
กฎหมายเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นร่างกฎหมายที่เสนอโดยคณะรัฐมนตรีในสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จะเห็นได้ว่าบางฉบับก็สอดคล้อง
กับนโยบายของพรรคเพื่อไทย โดยเฉพาะด้านสวัสดิการสังคมและแรงงาน จึงขึ้นอยู่กับว่ารัฐบาลใหม่จะตัดสินใจอย่างไรต่อไป
วันเสาร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2554
ศาลปกครอง จี้ กสทช. ยกเลิกวันหมดอายุพรีเพด
|
| ||||
|
วันศุกร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2554
http://safetyarea9.blogspot.com/p/9-v-behaviorurldefaultvml-o.html
สำนักแรงงานสัมพันธ์ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน ถนนมิตรไมตรี แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400
องค์การแรงงาน ณ ก.ค. 2554 |
จำนวนองค์การแรงงาน ณ กรกฎาคม 2554 ทะเบียนที่ตั้งองค์การแรงงาน ณ กรกฎาคม 2554 |
ผลการเลือกตั้งผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายลูกจ้างในคณะกรรมการไตรภาคีสังกัดกระทรวงแรงงาน ปี 2554
เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2554 ตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๕.๐๐ น. ห้องประชุมจอมพล ป.พิบูลสงคราม กระทรวงแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จัดให้มีการเลือกตั้งผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายลูกจ้างในคณะกรรมการไตรภาคีสังกัดกระทรวงแรงงาน (เขตภาค ๑๐ กรุงเทพมหานคร) จำนวน ๖ คณะ โดยเป็นการจัดการเลือกตั้งพร้อมกันทั้ง ๑๐ เขตภาคทั่วประเทศ แบ่งเป็นคณะกรรมการไตรภาคีสังกัดกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จำนวน ๓ คณะ และสังกัดสำนักงานประกันสังคม จำนวน ๓ คณะ ซึ่งมีรองอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (นายสมชาย วงษ์ทอง) เป็นประธานฝ่ายอำนวยการเลือกตั้ง ผลการเลือกตั้งรวมทั้ง ๑๐ เขตภาคทั่วประเทศ (ลพบุรี ชลบุรี นครราชสีมา อุดรธานี เชียงใหม่ นครสวรรค์ กาญจนบุรี ภูเก็ต สงขลา และกรุงเทพฯ) มีผู้มาใช้สิทธิลงคะแนนเลือกตั้งทั่วประเทศ ฝ่ายนายจ้าง ๙๘ คน จากบัญชีรายชื่อผู้มิสิทธิ ๑๔๖ คน คิดเป็นร้อยละ ๖๗.๑๒ ฝ่ายลูกจ้าง ๖๙๖ คนจากบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิ ๗๗๒ คน คิดเป็นร้อยละ ๙๐.๑๖ (การนับคะแนนเลือกตั้งเสร็จสิ้นเมื่อเวลา ๒๑.๐๐ น.) ปรากฏผล ดังนี้
๑. คณะกรรมการไตรภาคีสังกัดกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
๑.๑ คณะกรรมการสวัสดิการแรงงาน (ฝ่ายละ ๕ คน) ผู้ได้รับการเลือกตั้ง ดังนี้
ฝ่ายนายจ้าง
ลำดับที่ ๑ นางรัตนา เซี่ยงฉิน ลำดับที่ ๒ นางสาวธารีรัตน์ จริยขจรพัฒน์ ลำดับที่ ๓ นายสรัลวิชญ์ ศานติยานนท์
ลำดับที่ ๔ นายปรัชญา หงสกุล ลำดับที่ ๕ นางมุ้ยเซี้ยม ปรีดาวิภาต
ฝ่ายลูกจ้าง
ลำดับที่ ๑ นางสาวจันทิมา แจวสกุล ลำดับที่ ๒ นายไพร คำอิ่ม ลำดับที่ ๓ นายกรานต์ จันทร์ต่อ
ลำดับที่ ๔ นายสุภาค ฮาบสุวรรณ์ ลำดับที่ ๕ นายราวี หาสุนโม
๑.๒ คณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง (ฝ่ายละ ๕ คน) ผู้ได้รับการเลือกตั้ง ดังนี้
ฝ่ายนายจ้าง
ลำดับที่ ๑ นายวิวัฒน์ ศิริสุนทร ลำดับที่ ๒ นางสาวอุสา สุวรรณฉัตรชัย ลำดับที่ ๓ นายอรรถยุทธ ลียะวณิช
ลำดับที่ ๔ นายนำชัย เผือนพิพัฒน์ ลำดับที่ ๕ นายสรวุฒิ เจียรธนะกานนท์
ฝ่ายลูกจ้าง
ลำดับที่ ๑ นายมานะ คุ้มกระโทก ลำดับที่ ๒ นายสมโภชน์ อ้นชัยยะ ลำดับที่ ๓ นายเจริญศักดิ์ คูณทอง
ลำดับที่ ๔ นางสาวสายทอง สุปะมา ลำดับที่ ๕ นายสุริยันต์ วงศ์ใหญ่
๑.๓ คณะกรรมการกองทุนเพื่อผู้ใช้แรงงาน (ฝ่ายละ ๓ คน) ผู้ได้รับการเลือกตั้ง ดังนี้
ฝ่ายนายจ้าง
ลำดับที่ ๑ นางนารีรัตน์ ทองประพาฬ ลำดับที่ ๒ นายจรินทร์ งาดีสงวนนาม ลำดับที่ ๓ นางยุพดี วิภัติภูมิประเทศ
ฝ่ายลูกจ้าง
ลำดับที่ ๑ นายธีระพล เปรมทรัพย์ ลำดับที่ ๒ นายทวี ดียิ่ง ลำดับที่ ๓ นายปกรณ์ สีคล้อย
๒. คณะกรรมการไตรภาคีสังกัดสำนักงานประกันสังคม
๒.๑ คณะกรรมการประกันสังคม (ฝ่ายละ ๕ คน) ผู้ได้รับการเลือกตั้ง ดังนี้
ฝ่ายนายจ้าง
ลำดับที่ ๑ นายอรรถยุทธ ลียะวณิช ลำดับที่ ๒ นายวัลลภ กิ่งชาญศิลป์ ลำดับที่ ๓ นายสุธรรม เจริญพรวัฒนา
ลำดับที่ ๔ นายประภาส ชัยวัฒนายน ลำดับที่ ๕ นายวรพงษ์ รวิรัฐ
ฝ่ายลูกจ้าง
ลำดับที่ ๑ นายพนัส ไทยล้วน ลำดับที่ ๒ นายทวี เตชะธีราวัฒน์ ลำดับที่ ๓ นายธานี แตงจีน
ลำดับที่ ๔ นายนคร สุทธิประวัติ ลำดับที่ ๕ นายสุรัตน์ จันทร์วันเพ็ญ
๒.๒ คณะกรรมการอุทธรณ์ (ฝ่ายละ ๓ คน) ผู้ได้รับการเลือกตั้ง ดังนี้
ฝ่ายนายจ้าง
ลำดับที่ ๑ นายปิยะชาติ ชุณหเวชสกุล ลำดับที่ ๒ นายปัณณพงศ์ อิทธิ์อรรถนนท์ ลำดับที่ ๓ นายวัชรพล บุษมงคล
ฝ่ายลูกจ้าง
ลำดับที่ ๑ นายสุชาติ ไทยล้วน ลำดับที่ ๒ นายธรรมรงค์ มุสิกลัด ลำดับที่ ๓ นายวิรัช พยุงวงษ์
๒.๓ คณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน (ฝ่ายละ ๓ คน) ผู้ได้รับการเลือกตั้ง ดังนี้
ฝ่ายนายจ้าง
ลำดับที่ ๑ นายธำรง คุโณปการ ลำดับที่ ๒ นายประสิทธิ์ จงอัศญากุล ลำดับที่ ๓ นายปณพล ธรรมพรหมกุล
ฝ่ายลูกจ้าง
ลำดับที่ ๑ นายณรงค์ บุญเจริญ ลำดับที่ ๒ นายอนุชิต แก้วต้น ลำดับที่ ๓ นายประจวบ พิกุล
• ผลการนับคะแนนการเลือกตั้ง (เขตภาค ๑ - เขตภาค ๑๐) ฝ่ายนายจ้าง
• ผลการนับคะแนนการเลือกตั้ง (เขตภาค ๑ - เขตภาค ๑๐) ฝ่ายลูกจ้าง
วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2554
แรงงานจังหวัดสกลนครจัดอบรมอาสาสมัครแรงงาน
แรงงานจังหวัดสกลนคร จัดการอบรมเสริมสร้างศักยภาพอาสาสมัครแรงงานและแกนนำอาสาสมัครแรงงานระดับตำบลและอำเภอนางวิตยา ประสงค์วัฒนา รองผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร เป็นประธานเปิดอบรมโครงการเสริมสร้างศักยภาพอาสาสมัครแรงงานและแกนนำอาสาสมัครแรงงาน โดยมีหัวหน้าส่วนราชการสังกัดกระทรวงแรงงานจังหวัดสกลนคร อาสาสมัครแรงงาน แกนนำอาสาสมัครแรงงาน ระดับตำบล และระดับอำเภอเข้าร่วม อบรมกว่า 200 คน เพื่อทำหน้าที่เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร ติดต่อประสานงานด้านแรงงานระหว่างประชาชนในพื้นที่กับส่วนราชการสังกัดกระทรวงแรงงานจังหวัดสกลนคร ซึ่งเป็นการพัฒนาบุคลากรด้านแรงงานให้บรรลุตามวิสัยทัศน์ที่ว่า แรงงานมีผลิตภาพสูง มีความมั่นคงและมีคุณภาพชีวิตที่มี โดยทางแรงงานจังหวัดสกลนคร ตั้งเป้าการจัดอบรม ให้อาสาสมัครแรงงานได้รับความรู้และนำไปพัฒนางานที่เกี่ยวกับการใช้แรงงาน ให้พี่น้องผู้ใช้แรงงานได้รับสิทธิประโยชน์และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
ข้อมูลข่าวและที่มา ผู้สื่อข่าว : ขอนแก่น (สทท.)/อุพาภรณ์ สีดาเจี้ยม Rewriter : ธิดารัตน์ แบบวา สำนักข่าวแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์ : http://thainews.prd.go.th วันที่ข่าว : 15 กันยายน 2554 |
กก.ปฏิรูปกฎหมาย เสนอรัฐบาลใหม่ เร่งพิจารณาร่างกฎหมายที่สำคัญและจำเป็นสมควรให้พิจารณาต่อไป 19 ฉบับ
รอบอาทิตย์แรก ก.ย.54
เมื่อ 9 ก.ย. 2554