วันพฤหัสบดีที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2555

" ประนาม " หรือ " ประณาม " คำใดเขียนถูก

 > > แนะนำ คำไทย ::: " ประนาม " หรือ " ประณาม " 
คำใดเขียนถูก




สืบเนื่องจากกระทู้ที่แล้ว ได้ตั้งเกี่ยวกับพวกชอบโพสต์จดหมายลูกโซ่

เลยไปหาความรู้มาให้อ่านกัน จะได้นำไปใช้ได้ถูกต้องค่ะ




ประนาม ประณาม คำใดเขียนถูก 

      คำว่า ประนาม ประณาม เป็นคำถูกทั้งคู่ แต่ใช้คนละกรณี
ประนามเป็น ความหมายลบ คือการประนามความผิด นามตรงนี้มาจากนามที่แปลว่าชื่อ ส่วน ประณาม มีความหมายบวกแปลว่า สรรเสริญ เช่น ในสมัยก่อนเมื่อไทยเราเป็นสยาม บทร้องราชสดุดีของลูกเสือ กล่าวว่า "ปวงข้าเจ้าเหล่าเชื้อลูกเสือสยาม ขอประณามบาทบงสุ์ พระทรงศรี"


      เมื่อตอนหลังเปลี่ยน สยาม เป็น ไทย จึงแก้ว่า "ข้าฯ ลูกเสือเชื้อไทยใจเคารพ ขอน้อมนบบาทบงสุ์พระทรงศรี" ประณามมีความหมาย สูง เวลากวีจะแต่งบทร้อยกรองที่ยาวเป็นเรื่อง มักขึ้นต้นด้วยอาเศียรพาท บทอาเศียรพาทเรียกอีกอย่างว่า บทประณาม หรือประณามพจน์ กวีจะประณามตั้งแต่พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ พระพิฆเนศวร์ พระวิษณุ พระมหากษัตริย์


     เมื่อเป็นเช่นนี้ เราไม่ใช้ร่วมกับคำว่า ประนามหยาม เหยียด หรือ ประนามความผิด ถ้าใช้ว่า ประณามความผิด ก็คือการสรรเสริญความผิดซีครับ เช่น "ชายผู้นั้นเป็นผู้ร้ายฆ่าข่มขืน ผู้คนต่างก็รุมประณามเขา" ความหมายก็เท่ากับ "ชายผู้นั้นเป็นผู้ร้ายฆ่าข่มขืน ผู้คนต่างก็แซ่ซ้องสรรเสริญเขา" ขอให้ระวังเรื่องความหมาย 





เครดิต ::: muslimthai.com


แก้ไขครั้งที่ 1 เมื่อ 21 พฤษภาคม 2553 / 09:54

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น