วันจันทร์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

สารพิษอะไรบ้างจากเหตุระเบิดโรงงานผลิตยางสังเคราะห์ BST ที่มาบตาพุด ไม่ชัดเจน

 

สารพิษอะไรบ้างจากเหตุระเบิดโรงงานผลิตยางสังเคราะห์ BST ที่มาบตาพุด ไม่ชัดเจน



by มูลนิธิบูรณะนิเวศ (EARTH) on Monday, May 7, 2012 at 5:42pm ·


สารพิษอะไรบ้างจากเหตุระเบิดโรงงานผลิตยางสังเคราะห์ BST ที่มาบตาพุด ไม่ชัดเจน


19.00 น., 5 พ.ค. 55

จากเหตุโรงงานผลิตยางสังเคราะห์ ของบ. กรุงเทพซินธิติกส์ ระเบิดที่มาบตาพุด ตั้งแต่ช่วงเวลา 15.30 น. ที่ผ่านมาและเพิ่งจะควบคุมเพลิงได้ประมาณเวลา 18.00 น. ทำให้มีผู้บาดเจ็บ47 ราย สาหัส 6 ราย โดย 2 ราย (ตามรายงาน รมช.สาธารณสุข) และมีคำสั่งอพยพ 18 ชุมชนรอบและทิศใต้ลมของนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด

[เพิ่มเติมข้อมูล วันที่ 6 พ.ค. 2555 รายงาข่าวระบุยอดผู้เสียชีวิต 12 ราย บาดเจ็บ 127 ราย]

 

3 ชั่วโมงผ่านไป จนถึงขณะนี้ (18.30 น.) แม้ผู้ว่าฯจะประกาศควบคุมเพลิงได้แล้วและประกาศให้รอบนิคมเป็นเขตภัยพิบัติ แต่ยังไม่มีการให้ข้อมูลแก่สาธารณะอย่างชัดเจนว่าสารพิษที่รั่วไหลและฟุ้งกระจายไปกับกลุ่มควันและการระเบิดครั้งนี้เป็นสารอะไรบ้าง (บ้างก็ว่าเป็นสารก่อมะเร็ง บ้างก็ว่าเป็นสารทพให้ระคายเคืองผิว)  เหตุการณ์ครั้งนี้ แสดงให้เห็นอีกครั้งว่าทั้งภาคอุตสาหกรรมและหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยและสำนักงานนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ยังบกพร่องในการให้ข้อมูลแก่ประชาชนเรื่องสารพิษจากโรงงาน โดยเฉพาะโรงงานที่มีการผลิตและการใช้หรือปลดปล่อยสารพิษจำนวนมากเช่นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเตรียมข้อมูลให้ประชาชนเข้าถึงได้ตลอดเวลาและโดยง่าย เพื่อเตรียมรับสถานการณ์ฉุกเฉินอย่างเหตุโรงงานระเบิดครั้งนี้ได้ 

 

ผู้เชี่ยวชาญระบุว่าสารพิษซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งและอันตรายระยะยาว ที่อาจมีการใช้หรือเกิดในกระบวนการผลิตของโรงงานบริษัทกรุงเทพซินธิติกส์ที่มาบตาพุดได้แก่ เช่น BTEX (Benzene เบนซีน, Toluene โทลูอีน, ethylbenzene เอธิลเบนซีน, Xylene ไซลีน), Hexane เฮกเซน รวมถึงอาจมีการใช้ 1,2-Dichloroethane และ 1,3-Butadiene ซึ่งเป็นสารที่อันตรายทั้งเฉียบพลันและระยะยาวในกระบวรการผลิตด้วย ส่วนการเผาไหม้ของยางรถยนตร์สามารถทำให้เกิด PAHs (Polycyclic Aromatic Hydrocarbons) ซึ่งสารในกลุ่มนี้หลายตัวจัดเป็นสารก่อมะเร็งด้วยเช่นกัน 

 

ตัวอย่างข้อมูลเกี่ยวกับอันตราย ความเป็นพิษ และความปลอดภัย ของสารเคมีที่กล่าวถึง

Benzene ดูได้จาก http://www.chemtrack.org/Chem-Detail.asp?ID=00289&CAS=&Name=

1,2 Dichloroethane ดูได้จาก http://www.chemtrack.org/Chem-Detail.asp?ID=00709&CAS=&Name=1,2-Dichloroethane 

1,3-Butadiene http://www.chemtrack.org/News-Detail.asp?TID=1&ID=28

Toluene ดูจาก http://www.chemtrack.org/News-Detail.asp?TID=1&ID=48  http://www.chemtrack.org/Chem-Detail.asp?ID=02040 

Hexane ดูจาก http://www.chemtrack.org/Chem-Detail.asp?ID=01030 

Xylene ดูจาก http://www.chemtrack.org/Chem-Detail.asp?ID=02141 

 

เกี่ยวกับโรงงานทีีเกิดเหตุ 

บจก.กรุงเทพ ซินธิติกส์ หรือ Bangkok Synthetics Co., Ltd. (http://www.bst.co.th/

ผลิต Mix C4 รายแรกของไทยและส่งออกรายใหญ่ที่สุดใจภูมิภาค และโรงงานผลิตยางสังเคราะห์ S-SBR (Solution Polymerization Styrene-Butadiene Rubber) แห่งแรกในประเทศไทย ร่วมทุนกับ JSR ของญี่ปุ่น (ทำสัญญาเมื่อ มีนาคม 2554) และอยู่ในช่วงระหว่างการดำเนินงานก่อสร้างโรงงานผลิต NB Latex ซึ่งเป็นวัตถุดิบสำหรับผลิตถุงมือทางการแพทย์ (ที่มา http://www.newswit.com/prop/2011-03-07/4d70660d9e328f7284e30c6395b9eef4/

ทะเบียนโรงงาน น.42 (1)-15/2537-ญนพ.  ระบุว่าผลิต Mixed C4 (MTBE,BUTANE-1,BUTADIEN) เป็นโรงงานประเภท 4201 (การทำเคมีภัณฑ์ สารเคมี หรือวัสดุเคมี) (ไม่มีข้อมูลชัดเจนว่าโรงที่ผลิตยางรถยนตร์และ Latex สังเคราะห์ จดทะเบียนเดียวกันหรือจดทะเบียนแยก)

 

ผังกระบวนการผลิตแผนกผลิตยางสังเคราะห์ที่คาดว่าเป็นต้นตอปัญหา 

http://www.bst.co.th/product.aspx?cate=2

 

 


เวปไซต์บริษัท BST


https://www.facebook.com/note.php?note_id=373153622719868

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น